
อิทธิบาท 4 ประการ
อิทธิบาท แปลว่า ทางแห่งความสำเร็จ หมายถึง คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย หรือข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุนำไปสู่ความสำเร็จตามความมุ่งหมาย มี 4 ประการ คือ
1. ฉันทะ
ฉันทะ ความพอใจ หมายถึง ความต้องการที่จะทำ ความมีใจรักในสิ่งที่ทำ ความใฝ่ใจที่จะทำสิ่งนั้น ๆ อยู่เสมอ และปรารถนาที่จะทำให้ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่เบื่อหน่ายในสิ่งที่ทำ
ฉันทะ เป็นตัวช่วยให้ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในงานที่ทำ ไม่ให้เกิดความท้อแท้ เพราะมีใจรักในสิ่งที่ทำเป็นทุนเดิม ทำให้มีความสุขในงานที่ทำ
2. วิริยะ
วิริยะ ความเพียร หมายถึง ความขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ท้อถอย ลงมือทำด้วยความอุตสาหะ กล้าเผชิญกับอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่เกียจคร้าน
วิริยะ เป็นเครื่องกำจัดความเกียจคร้าน ทำให้มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่กลัวต่ออุปสรรคและความยากลำบากทั้งหลาย มีใจสู้และมั่นคงเด็ดเดี่ยวอยู่ตลอดเวลา
3. จิตตะ
จิตตะ ความคิดมุ่งไป หมายถึง ความเอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ ไม่ทอดธุระ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ ทำอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่ ทำ ๆ หยุด ๆ
จิตตะ เป็นตัวคอยรักษาและกระตุ้นความเพียรให้มีพลังอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง ไม่ให้เกิดความท้อถอย และช่วยให้มีใจหนักแน่นในเป้าหมาย
4. วิมังสา
วิมังสา ความไตร่ตรอง หมายถึง ความหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นหาวิธีแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ
วิมังสา เป็นตัวช่วยให้การงานเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่ผิดพลาด และช่วยให้การงานมีประสิทธิภาพ และการทำงานมีพัฒนาการอยู่เสมอ
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ