
สุทธิ 2 ประการ
สุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์ ความสะอาดหมดจด หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งใจ ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสเครื่องเศร้าหมองออกจากจิตใจ มี 2 ประการ คือ
1. ปริยายสุทธิ
ปริยายสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์บางส่วน ความบริสุทธิ์ในบางแง่บางด้าน หมายถึง ความบริสุทธิ์ที่เกิดจากการละกิเลสสังโยชน์ได้บางส่วน คือกิเลสบางตัวถูกทำลายไปแล้ว แต่กิเลสบางตัวยังคงเหลืออยู่ หมายเอาความบริสุทธิ์ของพระอริยบุคคล 3 ประเภทแรก คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี
เพราะพระอริยบุคคลทั้ง 3 ประเภทนี้ ละกิเลสได้บางส่วนตามระดับภูมิของตน ยังเหลือกิเลสบางส่วนที่ยังไม่สามารถทำลายได้ในชั้นภูมิของตน ยังต้องเพียรพยายามเพื่อทำลายกิเลสส่วนที่เหลือให้หมดต่อไป
2. นิปปริยายสุทธิ
นิปปริยายสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์อย่างสิ้นเชิง บริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง หมายถึง ความบริสุทธิ์ที่เกิดจากการละกิเลสได้ทั้งหมดโดยไม่หลงเหลืออยู่อีกเลยแม้แต่นิดเดียว หมายเอาความบริสุทธิ์ของพระอริยบุคคลประเภทที่ 4 คือ พระอรหันต์
เพราะพระอรหันต์สามารถละกิเลสสังโยชน์ได้หมดจดทุกประการ ไม่มีกิเลสตัวใดหลงเหลืออยู่ในขันธสันดานอีกต่อไป จึงถือว่าหมดกิจหมดภาระในการที่จะต้องเพียรพยายามเพื่อละกิเลสแล้ว
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ