
กรรม 2 ประการ
กรรม แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ แบ่งเป็น 2 ประการ คือ
1. อกุศลกรรม
อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล คือ กรรมชั่ว การกระทำที่ไม่ดี การกระทำที่ไม่ฉลาด การกระทำที่ไม่เกิดจากปัญญา การกระทำที่ทำให้คุณภาพชีวิตและจิตใจเสื่อมถอย หมายเอาการกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ ความโลภอยากได้ในทางที่ผิด โทสะ ความโกรธ ความคิดประทุษร้าย และ โมหะ ความหลง ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี
รวมความว่า การกระทำที่เป็นความชั่วทั้งหลาย จัดเป็นอกุศลกรรม
2. กุศลกรรม
กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล คือ กรรมดี การกระทำที่ดี การกระทำที่ชาญฉลาด การกระทำที่เกิดจากปัญญา การกระทำที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตจิตใจ หมายเอาการกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ ความไม่โลภ ภาวะที่จิตไม่ถูกความโลภครอบงำ อโทสะ ภาวะที่จิตไม่ถูกความโกรธครอบงำ และ อโมหะ ภาวะที่จิตไม่ถูกความหลงหรืออวิชชาครอบงำ
สรุปว่า การกระทำที่เป็นไปในฝ่ายดีทั้งหมด จัดเป็นกุศลกรรม
ในกรรมทั้ง 2 ประเภทนั้น กุศลกรรมเป็นกรรมที่ควรทำ เพราะเป็นเหตุทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง อกุศลกรรม เป็นกรรมที่ไม่ควรทำ ควรหลีกเว้นเสียให้ห่างไกล เพราะเป็นเหตุทำชีวิตให้ตกต่ำ
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ