
ภาวนา 4 ประการ
ภาวนา แปลว่า การทำให้เจริญ การเจริญ การทำให้มีขึ้น การฝึกอบรม หรือการพัฒนา แบ่งตามสิ่งที่ควรพัฒนามี 4 ประการ คือ
1. กายภาวนา
กายภาวนา คือ การพัฒนากาย หรือ การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าในทางที่ดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ ไม่ให้เกิดโทษหรืออกุศลกรรม ให้เกิดแต่คุณหรือกุศลกรรม พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือใช้กายในทางที่ดี สร้างแต่คุณงามความดีนั่นเอง
2. สีลภาวนา
สีลภาวนา คือ การอบรมศีล หรือ การพัฒนาความประพฤติ ได้แก่ การดำรงตนให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่ประพฤติตนนอกกรอบของศีลธรรมและกฎหมายบ้านเมือง ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ตนเองและสังคม ดำรงตนอยู่ในสังคมด้วยหลักคุณธรรมจริยธรรมและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คือรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั่นเอง
3. จิตตภาวนา
จิตตภาวนา คือ การพัฒนาจิต หรือ การฝึกอบรมจิตใจ เพื่อให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะ มีความเพียร มีขันติ เป็นต้น คือการฝึกให้จิตใจดำรงคงมั่นในคุณธรรมนั่นเอง
4. ปัญญาภาวนา
ปัญญาภาวนา คือ การพัฒนาปัญญา หรือ การฝึกอบรมปัญญา ให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันและเห็นแจ้งโลกตามสภาวะที่มันเป็น ฝึกทำจิตใจให้บริสุทธิ์จากกิเลสตัณหาทั้งปวง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยปัญญา การพัฒนาปัญญานั้น สามารถทำได้ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ ๔ ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ