
ภาวนา 2 ประการ
ภาวนา แปลว่า การเจริญ การทำให้เจริญ ทำให้มีขึ้น ทำให้เกิดขึ้น หรือการฝึกอบรมจิตใจ หมายถึง การทำให้จิตใจเจริญขึ้น ยกระดับจิตให้สูงขึ้น มี 2 อย่าง คือ
1. สมถภาวนา
สมถภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ หรือการฝึกสมาธิ เป็นการฝึกจิตให้จดจ่ออยู่กับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จนเกิดเป็นเอกัคคตาจิต คือภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว จนกลายเป็นสมาธิขึ้นมา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สมถกรรมฐาน
อานิสงส์ของสมถภาวนา คือ จิตเป็นสมาธิ สามารถเข้าสมาธิขั้นสูงที่เรียกว่า ฌาน หรือ สมาบัติ ได้
2. วิปัสสนาภาวนา
วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง ด้วยการฝึกพิจารณาสรรพสิ่งให้เห็นตามความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งล้วนตกอยู่ภายใต้กฎของพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาจนรู้แจ้งตามความเป็นจริง แล้วคลายความยึดมั่นถือมั่นเสียได้ วิปัสสนาภาวนานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิปัสสนากรรมฐาน
อานิสงส์ของวิปัสสนาภาวนา คือ ทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นและหลุดพ้นจากกิเลส สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ