
ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิหรือแนวความคิดที่ถูกต้อง หมายเอาต้นทางของปัญญาและความดีทั้งปวง มี 2 ประการ คือ
1. ปรโตโฆสะ
ปรโตโฆสะ คือ เสียงจากผู้อื่น หมายถึง การกระตุ้นเตือนจากภายนอกหรือจากคนอื่น คือการรับฟังคำแนะนำสั่งสอนจากผู้อื่น เช่น การเล่าเรียน การศึกษาหาความรู้ การสนทนาซักถาม การฟังคำบอกเล่าของผู้อื่น การสดับรับฟังสัทธรรมจากผู้เป็นกัลยาณมิตร เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เรามีสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบตามคลองธรรมได้
การฟังคำแนะนำจากผู้อื่นนั้น เน้นการฟังจากกัลยาณมิตร จึงจะเป็นทางแห่งสัมมาทิฏฐิ
2. โยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ หมายถึง การใช้ความคิดที่ถูกวิธี คิดอย่างแยบคายโดยใช้เหตุผล มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย แยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธี ให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
บางทีการรับฟังผู้อื่นแต่เพียงอย่างเดียวนั้น อาจทำให้ได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดได้ จำเป็นนต้องใช้โยนิโสมนสิการคือการคิดพิจารณาโดยแยบคายร่วมด้วย จึงจะเป็นทางก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิอย่างแท้จริง
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ