
เวสารัชชญาณ 4 ประการ
เวสารัชชะ หรือ เวสารัชชญาณ หมายถึง ความไม่ครั่นคร้าม ความแกล้วกล้าอาจหาญ ได้แก่ พระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้าอาจหาญไม่ครั่นคร้าม ของพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ทรงกลัวว่าใครจะมาทักท้วงพระองค์ใน 4 เรื่อง ดังต่อไปนี้
1. สัมมาสัมพุทธปฏิญญา
สัมมาสัมพุทธปฏิญญา การปฏิญญาว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคทรงประกาศตัวว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความอาจหาญ ไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่กลัวว่าจะมีใครมาทักท้วงว่า การที่ท่านประกาศตัวว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านรู้ธรรมเหล่านี้หรือไม่ หรือเรื่องนี้ท่านรู้หรือไม่ เป็นต้น เพราะไม่มีเรื่องใดหรือธรรมเหล่าใดที่พระองค์ไม่ทรงทราบ
2. ขีณาสวปฏิญญา
ขีณาสวปฏิญญา การปฏิญญาว่าเป็นพระขีณาสพ พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศตัวว่าเป็นพระอรหันตขีณาสพ หมดสิ้นอาสวะแล้ว ทรงประกาศด้วยความแกล้วกล้าอาจหาญ ไม่เกรงกลัวว่าใครจะมาทักท้วงว่าพระองค์มิใช่พระขีณาสพ เพราะพระองค์ได้ทำลายกิเลสาสวะทั้งหลายได้หมดสิ้นแล้ว
3. อันตรายิกธรรมวาทะ
อันตรายิกธรรมวาทะ พระพุทธเจ้าทรงประกาศธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ก็ทรงแกล้วกล้าอาจหาญไม่เกรงกลัวว่าจะมีผู้ทักท้วงพระองค์ว่า ธรรมที่พระองค์ประกาศว่าเป็นอันตรายนั้น หาได้เป็นอันตรายจริงไม่ เพราะพระองค์เป็นผู้ตรัสรู้ธรรม ธรรมที่พระองค์ประกาศว่าเป็นอันตราย ย่อมเป็นอันตรายจริง
4. นิยยานิกธรรมเทศนา
นิยยานิกธรรมเทศนา พระพุทธเจ้าทรงประกาศธรรมเหล่าใดว่าเป็นธรรมมีประโยชน์ เป็นธรรมที่นำผู้ปฏิบัติให้พ้นทุกข์ได้ พระองค์ก็ทรงอาจหาญไม่ครั่นคร้ามเกรงกลัวว่าจะมีผู้ใดทักท้วงพระองค์ว่า ธรรมที่พระองค์ประกาศว่าเป็นธรรมมีประโยชน์นั้น มิได้มีประโยชน์จริง เพราะธรรมเหล่าใดที่พระองค์ประกาศว่ามีประโยชน์ ธรรมเหล่านั้นย่อมมีประโยชน์จริง
การประกาศตนของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 เรื่องนี้ หาได้เป็นไปเพื่อโอ้อวดแต่ประการใดไม่ แต่เป็นความอาจหาญที่เกิดจากความรู้แจ้งเห็นจริงที่สามารถพิสูจน์ได้
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ