
เจดีย์ 4 ประการ
เจดีย์ คือ สิ่งที่เคารพบูชา สิ่งที่เตือนใจให้ระลึกถึง หรือสิ่งที่ก่อขึ้นเป็นที่เคารพ ในที่นี้หมายถึง สถานที่หรือสิ่งที่เคารพบูชาอันเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า หรือเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา เรียกเต็ม ๆ ว่า สัมมาสัมพุทธเจดีย์ หรือ พุทธเจดีย์ ท่านจำแนกไว้ 4 ประการ คือ
1. ธาตุเจดีย์
ธาตุเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ เป็นธาตุพิเศษอันเกิดจากพระวรกายของพระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาธิคุณ ภายหลังการเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระบรมสารีริกธาตุจึงเป็นสิ่งมีคุณค่ายิ่งกว่าปูชนียวัตถุอื่นใดในโลกนี้ เพราะเป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้น ชื่อว่า ธาตุเจดีย์
2. บริโภคเจดีย์
บริโภคเจดีย์ เจดีย์คือสิ่งหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย อย่างแคบหมายถึงต้นพระศรีมหาโพธิ์ อย่างกว้างหมายถึงสังเวชนียสถาน 4 ตลอดจนสิ่งทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย เช่น บาตร จีวร และบริขารอื่นๆ เป็นต้น
3. ธรรมเจดีย์
ธรรมเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระธรรม เช่น บรรจุใบลานจารึกพุทธพจน์แสดงหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น พระธรรมเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และนำมาถ่ายทอดสั่งสอนเหล่าสาวกให้รู้ตาม เป็นหนึ่งในรัตนะ 3 อย่างซึ่งเป็นรัตนะสูงสุดในพุทธศาสนา และเป็นสิ่งที่รักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ให้คงอยู่ หากขาดพระธรรมเสียแล้ว พุทธศาสนาก็ชื่อว่าเสื่อมสูญไปด้วยเช่นกัน ธรรมเจดีย์จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่คู่ควรแก่การเคารพบูชา
4. อุทเทสิกเจดีย์
อุทเทสิกเจดีย์ เจดีย์ที่สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า เพื่อได้ระลึกถึงเป็นพุทธานุสสติ และเพื่อกราบไหว้บูชา อุทเทสิกเจดีย์จึงเป็นสิ่งที่ควรแก่การเคารพบูชาอีกอย่างหนึ่ง
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ