
ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
ถูปารหบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ควรแก่สถูป หมายถึง ผู้มีคุณความดีพิเศษที่ควรแก่การสร้างสถูปไว้เคารพบูชา ท่านจำแนกไว้ 4 ประเภท คือ
1. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาหลายอสงไขยกัปป์ กว่าจะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และนำหลักธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มาถ่ายทอดเผยแผ่ให้ชาวโลกทั้งหลายได้ศึกษาและปฏิบัติตามเพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ พระองค์จึงเป็นผู้มีคุณูปการแก่ชาวโลกเป็นอันมาก จึงควรแก่การสร้างสถูปไว้กราบไว้บูชา
2. พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่บำเพ็ญบารมีมาหลายอสงไขย จนสามารถตรัสรู้อริยสัจ 4 ได้เฉพาะตัว แต่ไม่ได้ประกาศศาสนาอย่างเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงอย่างไรก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มากด้วยบารมี และตรัสรู้ธรรมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ กำจัดกิเลสทั้งปวงได้สิ้นแล้ว จึงเป็นผู้ที่ควรสร้างสถูปไว้กราบไหว้บูชา
3. พระตถาคตสาวก
พระตถาคตสาวก ได้แก่ สาวกของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ได้หมายเอาสาวกทั่วไป คือไม่ได้หมายความว่านับถือพุทธศาสนาแล้วจะเรียกว่าสาวกเลยทีเดียว แต่หมายเอาผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนสามารถตรัสรู้ตาม คือสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงจะได้ชื่อว่า พระตถาคตสาวก พระตถาคตสาวกคือพระอรหันต์ทั้งหลาย ก็เป็นผู้ที่ควรสร้างสถูปไว้กราบไหว้บูชาเช่นกัน
4. พระเจ้าจักรพรรดิ
พระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ จอมราชผู้ทรงธรรม พระเจ้าธรรมิกราช คือพระราชาผู้ทรงทศพิธราชธรรม ปกครองแผ่นดินโดยธรรม เป็นพุทธศาสนูปถัมภก อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองในแผ่นดิน และปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้มีภัยมารุกราน และให้มั่นคงสถาพรสืบไป พระเจ้าจรรกพรรดิดังกล่าว ก็เป็นผู้ที่ควรสร้างสถูปไว้ให้ผู้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชาเช่นกัน
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ