
อนุตตริยะ 6 ประการ
อนุตตริยะ แปลว่า ภาวะอันยอดเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม ในหมวดอนุตตริยะ 6 นี้ กล่าวถึงการเห็น การฟัง การได้ การศึกษา การบำรุง และการระลึก ที่ยอดเยี่ยม เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ล่วงพ้นโสกะปริเทวะ ดับสูญทุกข์โทมนัส และเพื่อการบรรลุญายธรรม กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน อนุตตริยะ 6 ประกอบด้วย
1. ทัสสสนานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันยอดเยี่ยม คือการเห็นที่ประเสริฐกว่าการเห็นอื่น ๆ หมายเอาการเห็นพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต รวมทั้งสิ่งทั้งหลายที่จะทำให้เกิดความเจริญงอกงามทางจิตใจ ในปัจจุบัน ถึงแม้พระตถาคตได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว แต่พระธรรมวินัยของพระองค์ยังคงอยู่ การได้เห็นพระธรรมวินัยของพระองค์ ก็เปรียบเหมือนการได้เห็นพระตถาคตเช่นกัน
2. สวนานุตตริยะ
สวนานุตตริยะ การฟังอันยอดเยี่ยม คือการฟังที่ประเสริฐกว่าการฟังอื่น ๆ หมายเอาการฟังธรรมของพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต ได้แก่การได้ฟังพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นการฟังที่นำประโยชน์มาให้ เป็นการฟังที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งสรรพสิ่งตามความเป็นจริง
3. ลาภานุตตริยะ
ลาภานุตตริยะ การได้อันยอดเยี่ยม คือการได้ที่ประเสริฐกว่าการได้อื่น ๆ หมายเอาการได้ศรัทธาในพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต หรือการได้อริยทรัพย์ ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ และปัญญา
4. สิกขานุตตริยะ
สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันยอดเยี่ยม คือการศึกษาที่ประเสริฐกว่าการศึกษาอื่น ๆ หมายเอาการศึกษาอบรมในอธิศีล อธิจิตต์ และอธิปัญญา คือการศึกษาและลงมือปฏิบัติเพื่อประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน
5. ปาริจริยานุตตริยะ
ปาริจริยานุตตริยะ การบำรุงอันยอดเยี่ยม คือการบำรุงที่ประเสริฐกว่าการบำรุงอื่น ๆ หมายเอาการบำรุงพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต การที่ได้บำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการสนับสนุนปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์สามเณรผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเพื่อธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ก็จัดเข้าในข้อนี้
6. อนุสสตานุตตริยะ
อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันยอดเยี่ยม คือการระลึกที่ประเสริฐกว่าการระลึกอื่น ๆ หมายเอาการระลึกถึงพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต คือระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ด้วยจิตใจที่เคารพบูชา นั่นเอง
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ