จตุกกะ หมวดสี่

อัปปมัญญา 4 ประการ

อัปปมัญญา 4 ประการ

อัปปมัญญา แปลว่า ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต หมายเอาธรรมคือพรหมวิหารทั้ง 4 ประการ แต่แผ่ไปในสรรพสัตว์โดยไม่มีประมาณ ไม่มีจำกัดขอบเขต ไม่จำกัดตัวบุคคล มี 4 ประการ เช่นเดียวกับพรหมวิหารธรรม
อ่านต่ออัปปมัญญา 4 ประการ
อปัสเสนธรรม 4 ประการ

อปัสเสนธรรม 4 ประการ

อปัสเสนะ หรือ อปัสเสนธรรม คือ ธรรมดุจพนักพิง ธรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย หมายถึง ธรรมที่จำเป็นต้องอาศัยเพื่อป้องกันไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น ทำลายอกุศลที่มีอยู่ให้เสื่อมสิ้นไป สนับสนุนให้กุศลเกิดขึ้น และรักษาพอกพูนกุศลที่มีอยู่แล้วให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
อ่านต่ออปัสเสนธรรม 4 ประการ
อบาย 4 ประเภท

อบาย 4 ประเภท

อบาย แปลว่า เสื่อม หรือความปราศจากความเจริญ หมายเอา อบายภูมิ ซึ่งแปลว่า ภูมิหรือดินแดนอันปราศจากความเจริญ หมายถึง ภูมิที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน เป็นที่เกิดของผู้ที่ทำบาปกรรมไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
อ่านต่ออบาย 4 ประเภท
อริยสัจ 4 ประการ

อริยสัจ 4 ประการ

อริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ อริยสัจนี้ เป็นความจริงที่ประเสริฐกว่าความจริงทั้งหมด เพราะสามารถนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ เป็นความจริงที่พระอริยะคือพระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง และทำให้ผู้ที่เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ
อ่านต่ออริยสัจ 4 ประการ
ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ

ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ

ธาตุกัมมัฏฐาน คือ กรรมฐานที่มีธาตุเป็นอารมณ์ กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ คือกำหนดพิจารณากายนี้แยกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นว่าเป็นเพียงธาตุสี่แต่ละอย่าง ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
อ่านต่อธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
สติปัฏฐาน 4 ประการ

สติปัฏฐาน 4 ประการ

สติปัฏฐาน คือ ที่ตั้งของสติ หมายถึง สิ่งที่จะต้องใช้สติกำหนดพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือตามที่สิ่งนั้น ๆ มันเป็นของมัน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง
อ่านต่อสติปัฏฐาน 4 ประการ
พรหมวิหาร 4 ประการ

พรหมวิหาร 4 ประการ

พรหมวิหาร คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจอันประเสริฐ หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ เป็นธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ ผู้ที่มีพรหมวิหารธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จะดำเนินชีวิตด้วยความบริสุทธิ์หมดจด และปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายโดยชอบธรรม
อ่านต่อพรหมวิหาร 4 ประการ
อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ

อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ

อารักขกัมมัฏฐาน หมายถึง กรรมฐานที่ควรรักษาไว้ คือ เป็นกรรมฐานที่ควรเจริญอย่างสม่ำเสมอมิให้ขาด อีกนัยหนึ่ง หมายถึง กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาตน คือ กรรมฐานเป็นเครื่องคุ้มครองตนให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง
อ่านต่ออารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
ปาริสุทธิศีล 4 ประการ

ปาริสุทธิศีล 4 ประการ

ปาริสุทธิศีล หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์ ศีลเครื่องให้บริสุทธิ์ ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล หรือข้อปฏิบัติที่ทำให้ศีลบริสุทธิ์ มี 4 ประการ
อ่านต่อปาริสุทธิศีล 4 ประการ
สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ

สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ

ความประมาท หมายถึง ความลุ่มหลงมัวเมา ก็ได้ ความขาดสติ, ความเผอเรอ ก็ได้ ความไม่เอาใจใส่ ไม่ให้ความสำคัญ ก็ได้ ความประมาทในที่นี้ หมายเอาการไม่เอาใจใส่ หรือการไม่ให้ความสำคัญ ดังนั้น สิ่งที่ไม่ควรประมาท จึงหมายถึง สิ่งที่ไม่ควรละเลย หรือสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ มี 4 ประการ
อ่านต่อสิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
อิทธิบาท 4 ประการ

อิทธิบาท 4 ประการ

อิทธิบาท แปลว่า ทางแห่งความสำเร็จ หมายถึง คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย หรือข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุนำไปสู่ความสำเร็จตามความมุ่งหมาย มี 4 ประการ
อ่านต่ออิทธิบาท 4 ประการ
อธิษฐานธรรม 4 ประการ

อธิษฐานธรรม 4 ประการ

อธิษฐานธรรม คือ ธรรมเป็นที่มั่น ธรรมอันเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล หรือ ธรรมอันเป็นฐานตั้งมั่นเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ต้องการ เป็นธรรมที่ควรใช้เป็นที่ประดิษฐานตน เพื่อให้สามารถยึดเอาผลสำเร็จสูงสุดอันเป็นที่หมายได้ โดยไม่เกิดความสำคัญตนผิด และไม่เกิดสิ่งมัวหมองหมักหมมทับถมตน มี 4 ประการ
อ่านต่ออธิษฐานธรรม 4 ประการ
ปธาน 4 ประการ

ปธาน 4 ประการ

ปธาน แปลว่า ความเพียร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปธาน แปลว่า ความเพียรชอบ หรือความเพียรที่ถูกที่ควร หมายถึง ความเพียรที่ควรตั้งไว้ในใจ เป็นธรรมสำหรับกำจัดความเกียจคร้านและปลุกใจให้ฝักใฝ่ในการสร้างคุณงามความดี มี 4 ประการ
อ่านต่อปธาน 4 ประการ
อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ

อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ

การบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนานั้น มีเป้าหมายเพื่อการปฏิบัติขัดเกลาตน เพื่อกำจัดกิเลส และเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน เปรียบเหมือนการว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรจากฝั่งหนึ่งเพื่อไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ย่อมต้องพบกับภัยต่าง ๆ ที่จะมีมาขัดขวาง และต้องเอาชนะให้ได้
อ่านต่ออันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
อคติ 4 ประการ

อคติ 4 ประการ

อคติ แปลว่า ฐานะอันไม่พึงถึง หมายถึง ทางแห่งความประพฤติที่ผิด ความไม่เที่ยงธรรม ความลำเอียง จัดประเภทตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอคติ เป็น 4 ประการ
อ่านต่ออคติ 4 ประการ
จักร 4 ประการ

จักร 4 ประการ

จักร 4 ประการ 1. ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในประเทศอันเหมาะสม 2. สัปปุริสูปัสสยะ การคบสัตบุรุษ 3. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ 4. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำบุญไว้ในกาลก่อน
อ่านต่อจักร 4 ประการ
วุฑฒิธรรม 4 ประการ

วุฑฒิธรรม 4 ประการ

วุฑฒิ 4 ธรรมเป็นเครื่องเจริญ 4 ข้อ 1. สัปปุริสสังเสวะ การคบหาสัตบุรุษ 2. สัทธัมมัสสวนะ การสดับสัทธรรม 3. โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย 4. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
อ่านต่อวุฑฒิธรรม 4 ประการ
ฆราวาสธรรม 4 ประการ

ฆราวาสธรรม 4 ประการ

ฆราวาสธรรม แปลว่า หลักธรรมสำหรับฆราวาส ธรรมะสำหรับผู้ครองเรือน หมายถึง หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ ธรรมะอันเป็นข้อปฏิบัติในการใช้ชีวิตของผู้ครองเรือน เพื่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่ภาวะของตน มี 4 ประการ
อ่านต่อฆราวาสธรรม 4 ประการ