
สัมปชัญญะ 4 ประการ
สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม หรือความรู้ชัดด้วยปัญญา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในหมวด พหุปการธรรม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ธรรมมีอุปการะมาก
สัมปชัญญะ มีความหมายว่า ความรู้ตัว หมายถึงความรู้สึกตัวว่ากำลังทำ พูด หรือคิด สิ่งใดอยู่ อีกนัยหนึ่ง สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ชัด ความเข้าใจชัดตามความเป็นจริง คือรู้ชัดว่าสิ่งที่กำลังทำ พูด คิด อยู่นั้น ถูกหรือผิด เป็นบุญหรือเป็นบาป มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ เป็นต้น
อาจกล่าวได้ว่า สัมปชัญญะก็คือตัวปัญญาที่คอยตรวจสอบว่าสิ่งที่สติระลึกขึ้นมาได้นั้นเป็นอย่างไรนั่นเอง
ลักษณะของสัมปชัญญะ มี 4 อย่าง คือ
- สาตถกสัมปชัญญะ รู้ชัดว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
- สัปปายสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
- โคจรสัมปชัญญะ รู้ชัดในขอบเขตของสิ่งที่ทำ
- อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดตามเป็นจริงไม่หลงงมงาย
1. สาตถกสัมปชัญญะ
สาตถกสัมปชัญญะ ความรู้ชัดว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ คือความตระหนักรู้ว่าสิ่งที่กำลังทำ พูด คิด อยู่นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่ ก่อประโยชน์ให้ตนเองหรือสังคมหรือไม่ เป็นประโยชน์ในโลกนี้หรือประโยชน์ในโลกหน้าหรือไม่ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพานหรือไม่
เมื่อมีสาตถกสัมปชัญญะ จะทำให้บุคคลมีความตระหนักรู้ที่จะเลือกทำสิ่งที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรืออำนวยประโยชน์ที่มุ่งหมาย ละเว้นสิ่งที่ไม่ตรงวัตถุประสงค์ ไม่ทำสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์
2. สัปปายสัมปชัญญะ
สัปปายสัมปชัญญะ ความรู้ชัดว่าเหมาะหรือไม่เหมาะ หรือตระหนักในความเหมาะสมเกื้อกูล คือความตระหนักรู้ว่าสิ่งที่ทำ พูด หรือคิด นั้นเหมาะสมหรือไม่ เอื้อต่อกาย เอื้อต่อจิต เอื้อต่อชีวิต หรือไม่
เมื่อมีสัปปายสัมปชัญญะ จะทำให้บุคคลมีความตระหนักที่จะเลือกทำแต่สิ่งที่เหมาะสบาย เอื้อต่อกาย จิต ชีวิต กิจ พื้นภูมิ และภาวะของตน ไม่ทำสิ่งที่ไม่เหมาะแก่ภาวะของตน
3. โคจรสัมปชัญญะ
โคจรสัมปชัญญะ ความรู้ชัดในขอบเขต คือตระหนักรู้ในขอบเขตของสิ่งที่ทำ พูด คิด ให้รู้อยู่เสมอว่าสิ่งนั้น ๆ มีขอบเขตแค่ไหน เพื่อไม่ให้หลงประเด็น ไม่ให้เกินขอบเขตของสิ่งนั้น ๆ หรืองานนั้น ๆ
เมื่อมีโคจรสัมปชัญญะ จะทำให้บุคคลมีความรู้ตระหนักที่จะคุมกายและจิตไว้ให้อยู่ในกิจ ในประเด็น หรือแดนงานของตน ไม่ให้เขว เตลิด เลื่อนลอย หรือหลงลืมไปเสีย ช่วยให้การทำกิจทุกอย่างไม่เกินขอบเขต ไม่มากหรือน้อยเกินไป แต่พอดีกับกิจนั้น ๆ ช่วยให้กิจสำเร็จได้โดยสมบูรณ์
4. อสัมโมหสัมปชัญญะ
อสัมโมหสัมปชัญญะ ความรู้ชัดว่าไม่หลง หรือรู้ชัดด้วยปัญญาโดยไม่หลงงมงาย คือรู้ชัดในสิ่งที่ทำ พูด คิด นั้นตามสภาวะความเป็นจริง รู้ชัดด้วยปัญญา ไม่ใช่รู้แบบลุ่มหลงงมงาย หรือถูกหลอก ไม่ใช่ความเข้าใจผิด แต่เป็นการรู้ชัดที่ใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว
เมื่อมีอสัมโมหสัมปชัญญะ จะทำให้บุคคลมีความรู้ตระหนักในเรื่องราว เนื้อหา สาระ และสภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้องหรือกระทำอยู่นั้น ตามที่เป็นจริง มิใช่ทำอย่างงมงายไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกหลอกให้ลุ่มหลงหรือเข้าใจผิด มิใช่ความเห็นผิดเป็นถูก
สัมปชัญญะนี้ เป็นหลักธรรมสำคัญที่ช่วยให้บุคคลตระหนักรู้ในสิ่งที่ทำคำที่พูด หรือความคิดในขณะนั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ อยู่ในขอบเขตที่พอดีหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ ช่วยให้การทำกิจทั้งปวงสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีไม่มีข้อผิดพลาด และป้องกันการกระทำที่เป็นทุจริตเสียได้ด้วย
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ