
ปหาน 3 ประการ
ปหาน แปลว่า การละ หมายถึง การละกิเลส แบ่งตามละดับการละกิเลสเป็น 3 ระดับ คือ
1. วิกขัมภนปหาน
วิกขัมภนปหาน แปลว่า การละด้วยการข่มไว้ การละด้วยการกดทับไว้ เป็นการละกิเลสของท่านผู้เจริญสมถกรรมฐานจนจิตตั้งมั่นเป็นอัปปนา บรรลุฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง สามารถข่มนิวรณ์ไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในฌานนั้น แต่เมื่อออกจากฌานแล้วกิเลสคือนิวรณ์นั้นก็สามารถกำเริบขึ้นอีกได้ ช่วงที่อยู่ในฌาน เปรียบเหมือนเอาหินทับหญ้าไว้ หญ้าก็ไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้ แต่เมื่อออกจากฌานแล้ว ก็เหมือนยกหินออก หญ้าที่เคยถูกทับไว้นั้นก็งอกเงยขึ้นได้อีก
2. ตทังคปหาน
ตทังคปหาน แปลว่า การละด้วยองค์นั้น ๆ คือ การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน หมายถึง การละกิเลสคือทิฏฐิ ความเห็นผิด มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น ด้วยกำลังของวิปัสสนาญาณ โดยที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนเกิดวิปัสสนาญาณ เมื่อวิปัสสนาญาณแต่ละขั้นเกิดขึ้น ทิฏฐิคือความเห็นผิดในนามรูปก็จะถูกทำลายไป เปรียบเหมือนเมื่อจุดไฟขึ้นความมืดก็หายไป
3. สมุจเฉทปหาน
สมุจเฉทปหาน แปลว่า การละด้วยการตัดขาด หมายถึง การละกิเลสอย่างละเอียดมีสังโยชน์เป็นต้น ด้วยอริยมรรค โดยผู้ปฏิบัติต้องบำเพ็ญจนถึงอริยมรรค เมื่อถึงอริยมรรคแล้ว อริยมรรคญาณนั้นจะทำลายสังโยชน์แต่ละอย่างให้หมดไปตามความสามารถของมรรคนั้น ๆ คือ
โสดาปัตติมรรค ทำลายสังโยชน์ 3 ข้อเบื้องต้นได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาส
สกทาคามิมรรค ทำให้ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง
อนาคามิมรรค ทำลายสังโยชน์เบื้องต่ำได้เพิ่มอีก 2 ข้อ คือ กามราคะ และ ปฏิฆะ
อรหัตตมรรค ทำลายสังโยชน์เบื้องสูงได้ทั้งหมด คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชา
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ