
ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
ปาฏิหาริย์ คือ ความอัศจรรย์ การกระทำที่เป็นอัศจรรย์ หรือ การกระทำที่ทำให้เกิดผลเป็นอัศจรรย์ มี 3 ประการ คือ
1. อิทธิปาฏิหาริย์
อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์ การแสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน หายตัว แยกร่างเป็นหลาย ๆ ร่าง เป็นต้น
เหตุผลในการแสดงฤทธิ์ของพระพุทธเจ้ามี 2 อย่าง คือ
1) เพื่อทำลายทิฏฐิและทำให้เกิดความเลื่อมใส ง่ายต่อการแสดงธรรม เพราะบุคคลบางจำพวกจะเลื่อมใสผู้มีฤทธิ์ หรือเป็นผู้มีฤทธิ์จึงหัวดื้อไม่ยอมฟัง สอนได้ยาก การแสดงฤทธิ์จะทำให้บุคคลเหล่านี้เลื่อมใส และสามารถสั่งสอนได้ง่าย
2) เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาจากการถูกย่ำยีของคนลัทธิอื่น เพราะเมื่อก่อนมักจะมีคนลัทธิอื่นย่ำยีพุทธศาสนาด้วยการยกเรื่องฤทธิ์ขึ้นมาอ้าง
2. อาเทสนาปาฏิหาริย์
อาเทสนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการทายใจ คือ การกำหนดความคิด อุปนิสัย รวมถึงความสามารถในการบรรลุธรรมของผู้อื่นได้ เช่น รู้ว่าคนคนนั้นกำลังคิดอะไรอยู่ อุปนิสัยของเขาเป็นอย่างไร แสดงธรรมอย่างไรเขาจึงจะเข้าใจและบรรลุได้ง่าย
3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนีย์ คือ ความอัศจรรย์อันเกิดจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ พระธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เป็นจริง ไม่อาจลบล้างได้ พิสูจน์ให้เห็นจริงได้ สามารถปฏิบัติและเห็นผลได้จริง เป็นคำสอนที่ยกระดับจิตของบุคคลจากปุถุชนให้กลายเป็นอริยชนได้
ในปาฏิหาริย์ทั้ง 3 ประการนั้น พระพุทธเจ้าทรงตำหนิอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทสนาปาฏิหาริย์ เพราะไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ และทรงห้ามพระภิกษุแสดงฤทธิ์ แต่ทรงสรรเสริญอนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขโดยส่วนเดียว
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ