
ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
ปิฎก แปลว่า กระจาด ตระกร้า กระบุง สำหรับเก็บของหรือใส่ของ ซึ่งสามารถเอาของหลายอย่างมาใส่รวมกันไว้ได้ไม่ให้กระจัดกระจาย ในที่นี้ หมายถึง คัมภีร์ที่รวบรวมพระพุทธพจน์อันเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้าไว้เป็นหมวดหมู่ มีทั้งหมด 3 หมวด เรียกว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย
1. วินัยปิฎก
วินัยปิฎก หมวดพระวินัย คัมภีร์ที่รวบรวมพระพุทธพจน์ในส่วนเกี่ยวกับพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจวัตรต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น 5 คัมภีร์ คือ
1) อาทิกัมมิกะ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนัก ตั้งแต่ ปาราชิก ถึง อนิยต
2) ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถึง เสขิยวัตร
3) มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทที่มานอกปาฏิโมกข์ตอนต้น 10 ขันธกะ หรือ 10 หมวด
4) จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทที่มานอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย 12 ขันธกะ หรือ 12 หมวด
5) ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือบรรจุคำถามคำตอบสำหรับสอบทานความรู้ของพระวินัย
2. สุตตันตปิฎก
สุตตันตปิฎก หมวดพระสูตร คัมภีร์ที่รวบรวมพระพุทธพจน์ในส่วนที่เกี่ยวกับพระสูตร คือพระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมที่ตรัสแก่บุคคลในโอกาสต่าง ๆ ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่าและเรื่องราวที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 5 นิกาย ดังนี้
1) ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตรที่มีขนาดยาว 34 สูตร
2) มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง 152 สูตร
3) สังยุตตนิกาย ว่าด้วยพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่ม ๆ ตามเรื่อง ที่หัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง 56 สังยุตต์ 7,762 สูตร
4) อังคุตตรนิกาย ว่าด้วยพระสูตรที่จัดเข้าเป็นหมวด ๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม 11 นิบาต หรือ 11 หมวดธรรม มี 9,557 สูตร
5) ขุททกนิกาย ว่าด้วยคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าใน 4 นิกายแรกไม่ได้ มี 15 คัมภีร์
3. อภิธรรมปิฎก
อภิธรรมปิฎก หมวดพระอภิธรรม คัมภีร์ที่รวบรวมพระพุทธพจน์ในส่วนที่เกี่ยวกับพระอภิธรรม คือหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ คือ
1) สังคิณี หรือ ธัมมสังคิณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายแต่ละประเภท
2) วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นเป็นหัวข้อแล้วแยกอธิบาย
3) ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
4) ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่าง ๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้น
5) กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่าง ๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ 3
6) ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถาม-ตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
7) ปัฏฐาน อธิบายปัจจัย 24 แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
ปัจจุบันคัมภีร์พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์เป็นภาษาไทย มี 45 เล่ม แบ่งเป็นพระวินัย 8 แล่ม พระสูตร 25 เล่ม และพระอภิธรรม 12 เล่ม
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ