
บูชา 2 ประการ
บูชา หมายถึง การแสดงความเคารพนับถือที่ปฏิบัติต่อผู้ที่เราเคารพเทิดทูน เช่น บูชาพระพุทธเจ้า บูชาพระสงฆ์ เป็นต้น จำแนกประเภทเป็น 2 อย่าง คือ
1. อามิสบูชา
อามิสบูชา การบูชาด้วยอามิส หรือการบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ เช่น การบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ของหอม พวงมาลัย เป็นต้น หรือบูชาด้วยการกราบไหว้ การสรรเสริญคุณ เป็นต้น
2. ปฏิปัตติบูชา
ปฏิปัตติบูชา หรือ ปฏิบัติบูชา แปลว่า การบูชาด้วยการปฏิบัติตาม หมายถึง การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอน เช่น เหล่าสาวกทั้งหลายบูชาพระพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน อย่างนี้เรียกว่า ปฏิบัติบูชา
ในการบูชาทั้ง 2 อย่างนั้น พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญปฏิปัตติบูชา หรือการบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอน มากกว่าการบูชาด้วยอามิส เพราะการบูชาด้วยการปฏิบัตินั้น เป็นการบูชาที่เกิดประโยชน์ต่อผู้บูชามากที่สุด
ตัวอย่างเช่น สาวกบูชาพระพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติธรรมตามที่พระองค์ทรงสั่งสอน ประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดจากการบูชานั้นก็คือ มรรค ผล นิพพาน ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติ และผลนั้นก็เกิดแก่ผู้บูชาด้วยการปฏิบัตินั้นโดยตรง
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ