
ปฏิสันถาร 2 ประการ
ปฏิสันถาร แปลว่า การต้อนรับ หมายถึง การต้อนรับ การรับรอง การทักทายปราศรัยผู้มาเยือน มี 2 ประการ คือ
1. อามิสปฏิสันถาร
อามิสปฏิสันถาร แปลว่า การต้อนรับด้วยอามิส หรือการต้อนรับด้วยวัตถุสิ่งของ หมายถึง การต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยสิ่งของ เช่น ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม ต้อนรับด้วยข้าวปลาอาหาร หรือบางคราว เมื่อแขกจะจากไปก็ยังมีขนมนมเนยเป็นของฝากติดไม้ติดมือไปด้วย อย่างนี้เรียกว่า อามิสปฏิสันถาร
2. ธัมมปฏิสันถาร
ธัมมปฏิสันถาร แปลว่า การต้อนรับโดยธรรม หรือ การต้อนรับด้วยธรรม หมายถึง การต้อนรับด้วยมิตรไมตรีที่ดีงาม ช่วยเหลือสงเคราะห์ บรรเทาความเดือดร้อนให้ ช่วยบรรเทาข้อสงสัยให้ เป็นต้น
หรือความหมายที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ การต้อนรับด้วยการให้ธรรมะ เช่น สนทนาธรรม ช่วยบรรเทาอวิชชา ทำให้เกิดปัญญาแก่ผู้มาเยือน อย่างนี้เรียกว่าธัมมปฏิสันถาร
การปฏิสันถารทั้ง 2 อย่างนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นความดีที่ควรปฏิบัติทั้ง 2 อย่าง แต่เมื่อมุ่งเอาประโยชน์สูงสุด ธัมมปฏิสันถาร ในความหมายที่มุ่งปฏิสันถารด้วยธรรมะ ถือว่ามีประโยชน์มากกว่า
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ