
นิพพาน 2 ประการ
นิพพาน แปลว่า ความดับ หมายถึง สภาวะที่ดับกิเลสและกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุดเพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เพราะดับทุกข์ได้ทั้งหมดแล้ว เป็นสภาวะที่เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ นิพพานมีอยู่ 2 อย่าง คือ
1. สอุปาทิเสสนิพพาน
สอุปาทิเสสนิพพาน สภาวะที่ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ หมายถึง นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ คือบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ยังไม่เสียชีวิตนั่นเอง พระอรหันต์ แม้จะดับกิเลสได้หมดสิ้นเชิงแล้วก็จริง แต่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ยังต้องมีภาระในการบริหารขันธ์ 5 อยู่ ยังต้องฉันอาหาร นอนพักผ่อน เป็นต้น และยังต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น มีโรคภัย เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่นี้เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน
2. อนุปาทิเสสนิพพาน
อนุปาทิเสสนิพพาน สภาวะที่ดับกิเลสและไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หมายถึง นิพพานของพระอรหันต์ผู้สิ้นชีวิตแล้ว คือกิเลสก็ดับ เบญจขันธ์ก็ดับ ไม่ต้องมีภาระในการที่ต้องบริหารเบญจขันธ์อีกต่อไป
พระนิพพาน ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีมายาวนานหลายอสงไขย ก็เพื่อพระนิพพานนี้ เหล่าสาวกทั้งหลายที่สดับรับฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตาม ก็เพื่อพระนิพพานนี้
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ