
อัตถะ 3 ประการ
อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ ผลที่มุ่งหมาย จุดหมาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลาย ก็เพื่อให้พุทธบริษัทนั้นได้รับประโยชน์ 3 ประการ คือ
1. ทิฏฐธัมมิกัตถะ
ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในภพนี้ ประโยชน์ในโลกนี้ หรือประโยชน์ในปัจจุบัน คือประโยชน์ที่จะได้รับในปัจจุบันชาตินี้ มุ่งถึงประโยชน์ในการแสวงหาทรัพย์และการมีฐานะที่มั่นคง จะเกิดมีขึ้นได้ด้วยการมีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ
1) อุฏฐานสัมปทา ประกอบพร้อมด้วยความขยันในการประกอบกิจแสวงหาทรัพย์สิน
2) อารักขสัมปทา การรักษาทรัพย์ที่หามาได้ไม่ให้สูญไปโดยไร้ประโยชน์
3) กัลยาณมิตตตา การคบคนดีเป็นมิตร
4) สมชีวิตา การเลี้ยงชีพพอสมควรแก่ฐานะ
2. สัมปรายิกัตถะ
สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในภพหน้า คือประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากตายไปแล้วไปเกิดในภพหน้าต่อ ๆ ไป มุ่งถึงการบำเพ็ญคุณธรรมในปัจจุบันชาติ อันจะส่งผลดีให้ได้รับในชาติต่อไป ซึ่งคุณธรรมดังกล่าวนั้นมี 4 ประการ คือ
1) สัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา มีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา
2) สีลสัมปทา สมบูรณ์ด้วยศีล คือรักษาศีลให้บริสุทธิ์หมดจด
3) จาคสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยจาคะคือการเสียสละ คือการยอมสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น
4) ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือการศึกษาธรรมะให้รู้แจ้ง เพื่อความเป็นสัมมาทิฏฐิ รู้ทางแห่งความเสื่อมและความเจริญ และดำเนินตามทางแห่งความเจริญ
3. ปรมัตถะ
ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง หมายเอาเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน เพราะพระนิพพานถือว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นประโยชน์ที่ยิ่งยวดกว่าประโยชน์ทั้งหมด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอนเหล่าสาวกก็เพื่อประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพานนี้
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ