
อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
อัคคิปาริจริยา แปลว่า ไฟที่ควรบำรุง หมายถึง บุคคลที่ควรบูชาด้วยใส่ใจบำรุงเลี้ยง และให้ความเคารพนับถือตามสมควรแก่ฐานะ มี 3 ประเภท คือ
1. อาหุไนยัคคิ
อาหุไนยัคคิ ไฟอันควรแก่ของคำนับบูชา ได้แก่ มารดาบิดา เพราะมารดาบิดานั้นเปรียบเสมือนไฟ คือให้คุณได้มาก และให้โทษได้มากเช่นกัน
มารดาบิดาให้คุณได้มาก หมายถึง ถ้าบุตรทำดีต่อมารดาบิดา บำรุงมารดาบิดาด้วยดี ย่อมจะได้รับคุณคืออานิสงส์จากการกระทำนั้นอย่างยิ่งใหญ่
มารดาบิดาให้โทษได้มาก หมายถึง ถ้าบุตรทำไม่ดีต่อมารดาบิดา ผลที่เกิดจากการกระทำไม่ดีต่อมารดาบิดานั้นก็หนักหนาสาหัสเช่นกัน
ดังนั้น ผู้เป็นบุตร ควรบูชามารดาบิดาด้วยการบำรุงเลี้ยงดูด้วยดี ประพฤติกตัญญูกตเวทิตาธรรมให้สมบูรณ์ จะได้รับอานิสงส์จากการกระทำนั้นอย่างยิ่งยวด
2. คหปตัคคิ
คหปตัคคิ ไฟของเจ้าบ้าน หมายถึง บุตร ภรรยา และคนในปกครอง
ในฐานะเจ้าเรือนหรือเจ้าบ้าน บุคคลที่ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับหนึ่งคือคนในบ้าน อันได้แก่ บุตร ภรรยา เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรามากที่สุดคือบุตรและภรรยา บุคคลที่จะให้คุณแก่เราได้มากที่สุดในบ้านก็คือบุตรและภรรยา บุคคลที่จะคอยช่วยเหลือเกื้อกูลเราได้มากที่สุดก็คือบุตรและภรรยา ดังนั้น จึงไม่ควรหันหลังให้บุตรและภรรยา ควรดูแลบำรุงให้ดีและให้ความสำคัญกับบุตรและภรรยาให้มาก
อีกประเภทหนึ่งก็คือ คนในปกครอง หมายถึง ลูกน้อง บริวาร คนในปกครอง คนที่คอยช่วยงานเรา บุคคลเหล่านี้ก็ควรให้ความสำคัญให้มาก ดูแลให้ดี บำรุงให้สมควรแก่ฐานะ เพราะถือว่าเป็นผู้ใกล้ชิดและให้คุณให้โทษแก่เราได้มากเช่นกัน
3. ทักขิไณยัคคิ
ทักขิไณยัคคิ ไฟอันควรแก่ทักษิณา หมายถึง สมณะ บรรพชิตในพระพุทธศาสนา นั่นก็คือพระสงฆ์สามเณรนั่นเอง
พระสงฆ์ เป็นเนื้อนาบุญของโลก บุญที่มีอานิสงส์มากที่สุดคือบุญที่ทำกับพระสงฆ์ เช่น การถวายทาน การบำรุงดูแลด้วยการถวายการอุปถัมภ์ในด้านต่าง ๆ สนับสนุนให้พระสงฆ์สามเณรมีความสะดวกในการศึกษาธรรมะและบำเพ็ญสมณธรรม จะก่อให้เกิดอานิสงส์แก่เราเป็นอย่างมาก
ในทางตรงกันข้าม การปฏิบัติไม่ดีต่อพระสงฆ์สามเณรผู้ทรงศีล ก็ให้โทษคือก่อความเสื่อมให้กับผู้กระทำได้อย่างใหญ่หลวงเช่นเดียวกัน
ดังนั้น พระสงฆ์ผู้ทรงศีลจึงเปรียบเสมือนไฟอีกประเภทหนึ่ง ปฏิบัติดีด้วยก็ให้คุณอย่างอนันต์ ปฏิบัติไม่ดีด้วยก็ให้โทษอย่างมหันต์
ไฟทั้ง 3 ประการนี้ เป็นการเลียนศัพท์มาจากคำว่า บูชาไฟ ในศาสนาพราหมณ์ เพราะพุทธศาสนามองว่าการบูชาไฟนั้นไม่มีประโยชน์ หันมาบูชาไฟคือบุคคลสามประเภทนี้ด้วยการบำรุงด้วยดีจะเกิดประโยชน์มากกว่า
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ