
สังขาร 3 ประการ
สังขาร แปลว่า สภาพที่ปรุงแต่ง สิ่งที่ปรุงแต่ง มีความหมายเป็น 2 นัย ในนัยแรก หมายเอาสิ่งที่ปรุงแต่งชีวิต มี 3 ประการ คือ
1. กายสังขาร
กายสังขาร สภาพอันปรุงแต่งกาย คือ สภาพที่ปรุงแต่งร่างกายให้มีชีวิตอยู่ อันได้แก่ อัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) และ ปัสสาสะ (ลมหายใจออก) อัสสาสะและปัสสาสะนี้ ทำให้ร่างกายดำรงอยู่คือมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าขาดอัสสาสะและปัสสาสะเสียแล้ว ชีวิตก็ไม่เหลืออยู่ คือตายนั่นเอง
2. วจีสังขาร
วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา คือ สภาพที่ปรุงแต่งถ้อยคำออกมาเป็นคำพูด เป็นภาษาที่เข้าใจ ทำให้พูดคุยกันได้ สื่อสารกันได้เข้าใจ หมายเอา วิตก คือความตรึก และวิจาร คือความตรอง
3. จิตตสังขาร
จิตตสังขาร สภาพอันปรุงแต่งจิต คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดความนึกคิด ทำให้สามารถนึกคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ หมายเอา สัญญา คือความจำ และ เวทนา คือความรู้สึก
สังขาร 3 ในนัยนี้ เป็นการอธิบายตามแนวพระสูตร มักมาในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าผู้เข้านิโรธสมาบัตินี้ วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ดับไปตามลำดับ

สังขาร 3 ประการ (อีกนัยหนึ่ง)
สังขาร 3 อีกนัยหนึ่ง หมายถึง ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งการกระทำ หมายเอา สัญเจตนา หรือเจตนาที่แต่งกรรม มี 3 ประการเช่นกัน คือ
1. กายสังขาร
กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย ความจงใจหรือเจตนาที่ปรุงแต่งกายกรรมคือการกระทำทางกาย ให้ดีบ้าง เลวบ้าง แตกต่างกันไป
2. วจีสังขาร
วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา ความจงใจหรือเจตนาที่ปรุงแต่งวจีกรรมคือการกระทำทางวาจา ได้แก่คำพูด ให้ดีบ้าง เลวบ้าง แตกต่างกันไป
3. จิตตสังขาร
จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ ความจงใจหรือเจตนาที่ปรุงแต่งมโนกรรมคือการกระทำทางใจได้แก่ความคิด ให้ดีบ้าง เลวบ้าง แตกต่างกันไป
สังขาร 3 ในนัยนี้ เป็นการอธิบายตามแนวพระอภิธรรม ได้ในความหมายของคำว่า สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ