
สัทธรรม 3 ประการ
สัทธรรม แปลว่า ธรรมอันดี ธรรมที่แท้ หรือ ธรรมของสัตบุรุษ หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักหรือแก่นของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา ตราบใดที่พระสัทธรรมยังดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาก็ยังดำรงอยู่ พระสัทธรรมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. ปริยัตติสัทธรรม
ปริยัตติสัทธรรม สัทธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน พระธรรมคำสอนในส่วนที่จะต้องเล่าเรียน ได้แก่ นวังคสัตถุศาสน์ อันประกอบด้วย
- สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่าง ๆ และพระวินัย
- เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
- เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วน ๆ เช่น พระอภิธรรมปิฎก
- คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วน ๆ เช่น คาถาธรรมบท เถรคาถา
- อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
- อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป
- ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
- อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์
- เวทัลละ ได้แก่ ข้อความถามตอบกันไปมา
2. ปฏิปัตติสัทธรรม
ปฏิปัตติสัทธรรม สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือไตรสิกขา โดยใจความก็คือ การนำเอาปริยัตติสัทธรรมที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแล้วนั้น มาปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา เพื่อให้เกิดผลคือปฏิเวธสัทธรรม
3. ปฏิเวธสัทธรรม
ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ ผลที่เกิดจากปฏิปัตติสัทธรรมคือการปฏิบัติ อันได้แก่ โลกุตตรธรรม 9 คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งเป็นผลหรือเป้าหมายอันมุ่งหวังสูงสุดของพระพุทธศาสนา ปฏิเวธสัทธรรมนี้ บางแห่งเรียกว่า อธิคมสัทธรรม มีความหมายอย่างเดียวกัน
พระสัทธรรมทั้ง 3 ประการนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกัน คือ ปริยัตติสัทธรรม อันเป็นส่วนของการศึกษาเล่าเรียน นำไปสู่ ปฏิปัตติสัทธรรม อันเป็นการนำสิ่งที่ศึกษาเล่าเรียนนั้นมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลคือปฏิเวธสัทธรรม และปฏิเวธสัทธรรม ก็คือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติคือปฏิปัตติสัทธรรมนั้น
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ