
สมบัติ 3 ประการ
สมบัติ แปลว่า ความถึงพร้อม ความพรั่งพร้อม หมายถึง ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งสิ่งอันให้สำเร็จความปรารถนา ผลสำเร็จที่ให้สมความปรารถนา หรือสิ่งที่สร้างความสุขให้แก่ผู้ที่ครอบครอง ท่านจำแนกไว้ 3 อย่าง คือ
1. มนุษยสมบัติ
มนุษยสมบัติ สมบัติในมนุษย์ หมายถึง สมบัติที่เป็นของมนุษย์ หรือสิ่งที่สร้างความสุขในโลกมนุษย์ หมายเอาสมบัติที่เป็นวันถุสิ่งของ เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ที่อยู่อาศัย เครื่องประดับ ข้าวปลาอาหาร เป็นต้น และสมบัติที่ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ เช่น เกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นต้น โดยรวมก็คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข นั่นเอง
2. สวรรคสมบัติ
สวรรคสมบัติ หรือ เทวสมบัติ สมบัติในสวรรค์ หรือ สมบัติของเทวดา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทิพยสมบัติ หมายเอาสมบัติที่เป็นวัตถุสิ่งของ เช่น วิมานทิพย์ อาหารทิพย์ เครื่องแต่งกายทิพย์ เป็นต้น และสมบัติที่มิใช่วัตถุสิ่งของ เช่น ความมีอายุยืนยาว ความไม่มีโรค เป็นต้น เป็นสมบัติที่ประณีตยิ่งกว่ามนุษยสมบัติ
3. นิพพานสมบัติ
นิพพานสมบัติ สมบัติคือพระนิพพาน เป็นสมบัติซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นสมบัติที่สร้างความสุขที่ยั่งยืนไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่เป็นพระอรหันต์หมดกิเลสแล้วเท่านั้นจึงจะได้นิพพานสมบัตินี้
สำหรับหนทางที่จะได้มาซึ่งสมบัติทั้ง 3 ประการนี้ มีดังนี้
- ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 ประการ เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งมนุษยสมบัติ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งสวรรคสมบัติ
- อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งนิพพานสมบัติ
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ