
สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
สัมปรายิกัตถะ หรือ สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า หรือ ธรรมที่เกื้อหนุนให้ได้ประโยชน์ในภายหน้าหรือภพหน้า มี 4 ประการ คือ
1. สัทธาสัมปทา
สัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ ความเป็นคนมีศรัทธา มีความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา หมายเอาศรัทธา 4 ประการ คือ
- กัมมสัทธา ความเชื่อในเรื่องของกรรม คือ เชื่อว่ากรรมมีจริง เชื่อกฎแห่งกรรม
- วิปากสัทธา ความเชื่อในเรื่องผลของกรรม คือ เชื่อว่าผลกรรมมีจริง
- กัมมัสสกตาสัทธา ความเชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำกรรมใดไว้จะได้รับผลของกรรมนั้น
- ตถาคตโพธิสัทธา ความเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ผู้ที่มีศรัทธาหรือความเชื่อที่ถูกต้อง ย่อมทำแต่สิ่งที่ดี ทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง อันจะอำนวยผลดีให้ทั้งในภพนี้และภพหน้า
2. สีลสัมปทา
สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ การรักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย กล่าวคือ การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ทำบาปทุจริตทั้งหลาย ถ้าเป็นฆราวาสก็รักษาศีล 5 หรือศีลอุโบสถ ถ้าเป็นสามเณรก็รักษาศีล 10 ถ้าเป็นพระภิกษุก็รักษาศีล 227 เป็นต้น
ศีล เป็นเบื้องต้นแห่งการทำความดีทั้งหลาย คนที่รักษาศีลดี ย่อมจะได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ก็มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
3. จาคสัมปทา
จาคสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ คือ ยินดีเสียสละ ทั้งกำลังทรัพย์และกำลังกาย เช่น การบริจาคให้ปันสิ่งของแก่ผู้ยากไร้ การถวายทานบำรุงพระสงฆ์ผู้ทรงศีล การเสียสละแรงกายช่วยเหลือสังคม เป็นต้น
การเสียสละนี้เป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะและมัจฉริยะ ผู้ที่ยินดีในการเสียสละ ย่อมสามารถกำจัดความโลภและความตระหนี่ถี่เหนียวลงได้
4. ปัญญาสัมปทา
ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ ความเป็นผู้รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ แล้วละสิ่งที่เป็นบาป ทำสิ่งที่เป็นบุญ ละสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งคือ การหมั่นเจริญปัญญาด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อันจะก่อให้เกิดปัญญาพิจารณาสรรพสิ่งให้เห็นตามความเป็นจริงได้
ผู้ที่มีความถึงพร้อมด้วยปัญญาสัมปทาเช่นนี้ ย่อมสามารถละชั่วทำดีได้ ทำเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์อันมีผลดีทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
หลักธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นหลักธรรมที่ก่อประโยชน์ให้ทั้งในโลกนี้และมีผลสืบต่อไปถึงโลกหน้าคือภพหน้าด้วย จึงควรบำเพ็ญให้เจริญมาก ๆ เท่าที่จะมีความสามารถบำเพ็ญได้
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ