
ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 ประการ
ทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือ ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขในขั้นต้น เป็นหลักปฏิบัติในการสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างฐานะที่มั่นคง มี 4 ประการ คือ
1. อุฏฐานสัมปทา
อุฏฐานสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพอันสุจริต ไม่เกียจคร้าน รู้จักใช้ปัญญาสอดส่องตรวจตราหาวิธีในการจัดการกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. อารักขสัมปทา
อารักขสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รู้จักรักษาทรัพย์สินที่หามาได้จากการทำงาน ไม่ให้สิ้นเปลืองหมดไปด้วยสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งคือ รู้จักรักษางานหรือผลงานที่ทำด้วยความขยันหมั่นเพียรนั้นไม่ให้เสื่อมเสีย และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ รักษาเงินและรักษางาน
วิธีรักษาทรัพย์มี 5 ประการ คือ
- ต้องรู้จักเก็บ คือ เก็บรักษาให้ปลอดภัย
- ต้องรู้จักถนอม คือ ระมัดระวังไม่ให้เสียหายสิ้นเปลือง
- ต้องรู้จักบูรณะซ่อมแซมของเก่าที่พอใช้ได้ ไม่ทิ้งให้เสื่อมประโยชน์
- ต้องรู้จักเสียดาย คือ ของบางอย่างที่เลิกใช้แล้ว แต่ยังอาจใช้ในวันข้างหน้าได้ก็ต้องรู้จักเก็บไว้ใช้ อย่าทิ้ง
- ต้องรู้จักทำให้เกิดผลกำไร คือ การใช้ทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดผลกำไร เช่น การลงทุนในสิ่งที่ไม่มีความเสี่ยง
3. กัลยาณมิตตตา
กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี คือ ต้องรู้จักเลือกคบคน คบเฉพาะคนที่เป็นคนดี เป็นบัณฑิต สามารถแนะนำชักจูงเราไปในทิศทางที่ดีได้ ไม่คบคนชั่วคนพาลที่จะนำพาเราไปสู่ความเสื่อม
4. สมชีวิตา
สมชีวิตา การเลี้ยงชีพแต่พอสมควร คือ มีความเป็นอยู่เหมาะสม ใช้จ่ายแต่พอดีแก่ฐานะ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย รู้จักแบ่งเก็บแบ่งใช้ ไม่ใช้จ่ายเกินตัวนั่นเอง
หลักธรรม 4 ข้อนี้ เป็นหลักธรรมสำหรับการสร้างเนื้อสร้างตัว ถ้าปฏิบัติได้ตามนี้ จะทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ลำบาก
มีครูบาอาจารย์นำคำขึ้นต้นของหลักธรรม 4 ข้อนี้ มาผูกเป็นคาถา คือ “อุ อา กะ สะ” แล้วเรียกว่า คาถาหัวใจเศรษฐี ซึ่งความจริงแล้วก็คือหลักธรรม 4 ข้อนี้เอง เป็นอุบายให้จดจำหลักธรรมได้ง่าย ให้ศึกษาให้เข้าใจแล้วนำไปเป็นหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิตประกอบกิจการงาน ไม่ต้องไปสวดสาธยายให้เสียเวลา
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ