
อบายมุข 6 ประการ
อบายมุข แปลว่า ช่องทางของความเสื่อม ปากแห่งความเสื่อม หมายถึง ทางที่จะนำไปสู่ความพินาศ เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์ เป็นทางแห่งความเสื่อมทรัพย์สมบัติและเกียรติยศชื่อเสียง ผู้ใดประพฤติเข้า ย่อมถึงความวิบัติล่มจม ท่านจำแนกไว้ 4 ประการบ้าง 6 ประการบ้าง ในที่นี้จะกล่าวถึงอบายมุข 6 ประการ คือ
1. ติดสุราและของมึนเมา
ติดสุราและของมึนเมา มีความหมายตรงกับ สุราธุตตะ ในอบายมุข 4 คือความเป็นนักเลงสุรา ความเป็นนักดื่ม ชอบเสพของมึนเมา รวมไปถึงยาเสพติดให้โทษทั้งหลายด้วย มีโทษหรือก่อให้เกิดความเสื่อม 6 สถาน ดังนี้
- เสียทรัพย์ เพราะสุรา ของมึนเมา หรือยาเสพติดทั้งหลาย ต้องใช้ทรัพย์แลกมาจึงจะหามาดื่มมาเสพได้
- เป็นเหตุก่อทะเลาะวิวาท เพราะเมื่อเมาแล้วย่อมขาดสติ เป็นสาเหตุให้ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนหรือบุคคลอื่นได้ง่าย
- เป็นบ่อเกิดแห่งโรค เพราะสุรายาเสพติดนั้น เป็นของที่ทำลายสุขภาพ เมื่อดื่มหรือเสพมากเข้าก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย หรือเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา
- ถูกตำหนิติเตียน เพราะการดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติด เป็นการกระทำที่ผิดศีล ปัญญาชนทั้งหลายย่อมติเตียน
- ไม่รู้จักอาย เพราะเมื่อเมาแล้ว ความละอายก็หายไป กล้าทำเรื่องไม่ดีได้สารพัด
- ทอนกำลังปัญญา เพราะฤทธิ์ของสุราหรือสิ่งเสพติดทั้งหลาย ทำให้ความสามารถในการคิดอ่านหรือวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ลดลง คือบดบังปัญญานั่นเอง
2. ชอบเที่ยวกลางคืน
ชอบเที่ยวกลางคืน มีความหมายเดียวกับ อิตถีธุตตะ ในอบายมุข 4 คือ ความเป็นนักเลงหญิง คือความเป็นคนชอบเที่ยวผู้หญิง แม้ความเป็นคนชอบเที่ยวผู้ชาย คือผู้หญิงที่ชอบเที่ยวผู้ชาย ก็นับเข้าในข้อนี้ด้วยเช่นกัน ก่อให้เกิดโทษหรือความเสื่อมเสีย 6 สถาน คือ
- ชื่อว่าไม่รักษาตัว คือ เป็นการไม่ดูแลสุขภาพ เพราะอาจทำให้ติดโรคได้ง่าย เป็นการทำลายสุขภาพ
- ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย (หรือสามี) คือ เป็นการไม่เอาใจใส่ดูแลครอบครัว อาจทำให้เกิดปัญหาครอบครัวได้ง่าย
- ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์ คือ เป็นการใช้ทรัพย์สินให้สิ้นเปลืองหมดไปกับเรื่องไร้สาระหาประโยชน์มิได้
- เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย คือ คนทั่วไปจะไม่ไว้เนื้อเชื่อใจบุคคลที่มีความประพฤติลักษณะนี้
- มักถูกใส่ความ คือ หากมีเรื่องเกิดขึ้น บุคคลประเภทนี้มักตกเป็นผู้ต้องสงสัย เพราะความประพฤติไม่ดี
- ได้รับความลำบาก คือ จากโทษ 5 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้บุคคลนั้นต้องได้รับความทุกข์ ความลำบากเดือดร้อนตามมา

3. ชอบเที่ยวดูการละเล่น
คนที่ชอบเที่ยวดูการละเล่นจนติดเป็นนิสัยแล้ว มักจะทิ้งหน้าที่การงาน เสียการเสียงาน เสียเวลาไปกับสิ่งไร้ประโยชน์ เสียโอกาสในการคิดสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ โทษของการชอบเที่ยวดูการละเล่น มีดังนี้
- มีการรำที่ไหนไปที่นั่น เช่น เที่ยวดูหมอลำ เที่ยวดูลิเก เป็นต้น มีอยู่ที่ไหนก็ไปที่นั่น ดูแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา
- มีการขับร้องที่ไหนไปที่นั่น เช่น เที่ยวดูการขับร้องตามสถานที่ต่าง ๆ มีอยู่ที่ไหนก็ไปที่นั่น ดูแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์ เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา
- มีการดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น เช่น เที่ยวดูการแสดงดนตรีตามสถานที่ต่าง ๆ มีอยู่ที่ไหนก็ไปที่นั่น ดูแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์ เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา
- มีการเสภาที่ไหนไปที่นั่น เช่น เที่ยวดูการเล่นละครเสภา มีอยู่ที่ไหนก็ไปที่นั่น ดูแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์ เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา
- มีร้องเพลงที่ไหนไปที่นั่น เช่น เที่ยวดูการร้องเพลงตามสถานที่ต่าง ๆ มีอยู่ที่ไหนก็ไปที่นั่น ดูแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์ เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา
- มีเถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น เช่น เที่ยวดูการเล่นกลองยาว เชิดสิงโต เป็นต้น มีอยู่ที่ไหนก็ไปที่นั่น ดูแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์ เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา
รวมความว่า มีการละเล่นบรรเทิงสนุกสนานที่ไหนก็ไปที่นั่น อย่างนี้เรียกว่า ชอบเที่ยวดูการละเล่น
4. เกียจคร้านทำการงาน
เกียจคร้านทำการงาน คือ ความเป็นคนขึ้เกียจ ไม่อยากทำงาน ชอบหาความสบายใส่ตัว หลีกเลี่ยงการทำงาน โดยมักอ้างเหตุต่าง ๆ เพราะไม่อยากทำงาน ดังนี้
- มักอ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำงาน
- มักอ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน
- มักอ้างว่า เวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำงาน
- มักอ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน
- มักอ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำงาน
- มักอ้างว่า กระหายนัก แล้วไม่ทำงาน
สรุปว่า ชอบหาข้ออ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานนั่นเอง คนที่เต็มไปด้วยความขี้เกียจอย่างนี้ ย่อมไม่มีความเจริญก้าวหน้า ประสบความสำเร็จได้ยากหรือไม่ประสบความสำเร็จเลย
5. คบคนชั่วเป็นมิตร
คบคนชั่วเป็นมิตร มีความหมายตรงกับ ปาปมิตตะ ในอบายมุข 4 คือ ความเป็นผู้มีเพื่อนชั่ว คือมีเพื่อนไม่ดีนั่นเอง การคบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษตามลักษณะของมิตรชั่วที่คบ 6 ประเภท ดังนี้
- คนเล่นการพนัน เมื่อคบแล้วย่อมชักชวนเราให้เล่นการพนันด้วย ความเสื่อมเสียหรือโทษจากการเล่นการพนันก็จะตามมา
- คนเจ้าชู้ เมื่อคบแล้วก็ย่อมจะชักนำเราให้เป็นคนเจ้าชู้ตามไปด้วย ครอบครัวก็จะไม่สงบสุข ชีวิตคู่ไม่มั่นคง
- คนชอบดื่มเหล้า เมื่อคบแล้วย่อมชักชวนเราให้ดื่มเหล้า หรือเสพของมึนเมา เสพยาเสพติดอื่น ๆ ตามมา โทษจากการเป็นนักเลงสุราก็จะเกิดขึ้นตามมา
- คนลวงเขาด้วยของปลอม คือพวกนักต้มตุ๋นหรือมิจฉาชีพทั้งหลาย เมื่อคบแล้ว ย่อมชักชวนเราให้เป็นเหมือนเขา
- คนลวงเขาซึ่งหน้า คือคนชอบโกหกหลอกลวง เมื่อคบแล้วย่อมชักชวนเราให้กลายเป็นคนโกหกหลอกลวงด้วย
- นักเลงหัวไม้ เมื่อคบแล้ว ย่อมชักนำเราให้กลายเป็นนักเลงหัวไม้ไปด้วย
สรุปก็คือ คบคนเช่นใดย่อมเป็นคนเช่นนั้น ถ้าคบคนไม่ดีเราก็จะกลายเป็นคนไม่ดีตามไปด้วย ผลเสียทั้งหลายก็จะตามมา
6. ติดการพนัน
ติดการพนัน มีความหมายตรงกับ อักขธุตตะ คือ ความเป็นนักเลงการพนัน คือชอบเล่นการพนันเป็นชีวิตจิตใจ ก่อให้เกิดโทษหรือความเสื่อมเสีย 6 สถาน คือ
- เมื่อชนะย่อมก่อเวร คือ เมื่อชนะการพนันแล้ว คนอื่นที่แพ้ย่อมต้องการเอาคืนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
- เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป คือ เมื่อแพ้การพนันแล้วย่อมเสียทรัพย์ เมื่อเสียทรัพย์ก็ย่อมเป็นทุกข์เพราะเสียดาย และต้องการเล่นใหม่เพื่อเอาคืน เป็นอย่างนี้ไม่จบสิ้น
- ทรัพย์สินที่มีอยู่ย่อมฉิบหาย คือ คนที่ติดการพนันจะยอมเสียทุกอย่างเพื่อให้ได้เล่น เมื่อเสียเงินแล้วก็ยอมเอาทรัพย์สินอย่างอื่นไปแลกเงินมาเพื่อเล่นการพนัน สุดท้ายก็สิ้นเนื้อประดาตัว ไม่เหลือสักอย่าง
- ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ เพราะคนที่ติดการพนัน ย่อมไม่เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของคนอื่น ดังนั้น พูดอะไรก็จะไม่มีใครเชื่อ คำพูดไม่มีน้ำหนัก
- เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน คือ คนอื่น ๆ หรือแม้แต่เพื่อน ย่อมดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย
- ไม่มีใครอยากแต่งงานด้วย คือ ไม่มีใครอยากแต่งงานเป็นคู่ชีวิตกับคนที่ติดการพนัน เพราะจะมีแต่ล่มจม ไม่มีความเจริญรุ่งเรือง แม้คนที่แต่งงานมีครอบครัวแล้ว ถ้าติดการพนัน ก็จะทำให้ครอบครัวเดือดร้อน สามีหรือภรรยาย่อมต้องการที่จะหย่าร้างกันไป
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ