
อัคคิ 3 ประการ
อัคคิ แปลว่า ไฟ หมายถึง กิเลสที่เปรียบเหมือนไฟ เพราะเผาลนจิตใจสรรพสัตว์ให้เร่าร้อนและแส่พร่านไป ไฟคือกิเลสนี้แบ่งเป็น 3 กองใหญ่ ๆ คือ
1. ราคัคคิ
ราคัคคิ ไฟคือราคะ ได้แก่ ความติดใจ ความกระสัน ความอยากได้ ความกำหนัดยินดีในกามคุณอันน่าใคร่น่าพอใจ
ไฟคือราคะนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเผาลนจิตใจของสรรพสัตว์ให้กำหนัดอยากได้กามคุณทั้งหลายที่น่าใคร่น่าพอใจ เมื่อไม่ได้มาก็เป็นทุกข์ และดิ้นรนด้วยวิธีต่าง ๆ ที่จะได้มาครอบครอง โดยไม่คำนึงว่าวิธีนั้นจะถูกหรือผิด จนอาจเป็นเหตุทำให้กระทำสิ่งที่ผิดต่อศีลธรรมได้
2. โทสัคคิ
โทสัคคิ ไฟคือโทสะ ได้แก่ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ ความคิดประทุษร้าย เกิดจากการประสบกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ
ไฟคือโทสะนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเผาลนจิตใจของสรรพสัตว์ให้เกิดความขัดเคืองงุ่นง่าน ไม่พอใจ อยากทำลายทำร้ายบุคคลหรือสิ่งของใด ๆ ก็ตามที่เป็นเหตุให้ตนเกิดความไม่พอใจนั้น จนเป็นสาเหตุแห่งความทะเลาะวิวาททำลายร่างกายและชีวิตกันได้
3. โมหัคคิ
โมหัคคิ ไฟคือโมหะ ได้แก่ ความหลง ความไม่รู้ไม่เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
ไฟคือโมหะนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเผาลนปัญญาของสรรพสัตว์ให้ย่อยยับดับไป จนกลายเป็นคนมืดบอด ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ไม่รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง ย่อมสามารถทำสิ่งที่ผิดได้ทุกอย่าง มุ่งหน้าสู่ความวิบัติ เหมือนควายตาบอดที่เดินอยู่ในป่า แม้เดินไปสู่หุบเหวที่จะทำให้ตกลงไปตายได้ก็ยังไม่รู้ตัว
ไฟกิเลสทั้ง 3 ประการนี้ เป็นไฟที่แผดเผาร้ายแรงกว่าไฟทั้งปวง เพราะไฟอื่น ๆ เผาไหม้เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แต่ไฟกิเลสทั้ง 3 ประการนี้ ตามแผดเผาสรรพสัตว์แบบข้ามภพข้ามชาติ ไม่มีวันหยุดเผา ไม่มีวันดับ จนกว่าจะถึงพระนิพพานเท่านั้น ไฟทั้ง 3 กองนี้จึงจะดับลง
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ