
สุภาสิตทฺธชา อิสโย.
[คำอ่าน : สุ-พา-สิ-ตัด-ทะ-ชา, อิ-สะ-โย]
“ฤาษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธงชัย”
(สํ.นิ. ๑๖/๓๒๖, องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๖)
คำว่า สุภาษิต หมายถึง วาจาที่ไพเราะ วาจาที่กล่าวดีแล้ว วาจาที่เป็นประโยชน์ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า สรุปว่า เป็นวาจาที่ดี เป็นไปในทางวจีสุจริต
ฤาษีหรือผู้ที่บำเพ็ญตบะเพื่อแผดเผากิเลส บำเพ็ญเพียรเพื่อออกจากอำนาจของกิเลส มักจะมีวาจาสุภาษิตเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ คือมีสุภาษิตไว้เตือนตน แล้วดำเนินตามสุภาษิตนั้น
อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้นเมื่อเจรจาปราศัยกับบุคคลอื่น ย่อมกล่าววาจาสุภาษิตให้คู่สนทนาได้สดับรับฟังบ้าง ถือเป็นการสนทนาธรรมตามกาลพอประมาณ เมื่อกล่าววาจาสุภาษิตเป็นที่ถูกใจ ย่อมได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากคู่สนทนา
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า ฤาษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธงชัย
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา