
สมโณ อสฺส สุสฺสมโณ.
[คำอ่าน : สะ-มะ-โน, อัด-สะ, สุด-สะ-มะ-โน]
“สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี”
(วิ.มหาวิภงฺค. ๑/๒๙๘)
สมณะ แปลว่า ผู้สงบระงับ หมายถึง สงบระงับจากการทำกายทุจริต สงบระงับจากการกล่าววจีทุจริต และสงบระงับจากมโนทุจริต รวมความว่า สงบระงับจากการทำบาปทั้งปวง
ผู้ที่บรรพชาอุปสมบทเข้ามาเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เราเรียกว่า สมณะ โดยสมมุติ เพราะท่านเหล่านั้นถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นสมณะ เมื่อใดที่ปฏิบัติขัดเกลากิเลสได้หมดจดจนสามารถเป็นผู้สงบระงับจากการทำบาปทั้งปวงได้แล้ว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นสมณะอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว บุคคลทั่วไปได้เรียกว่าเป็นสมณะไว้ล่วงหน้าแล้ว เพราะเป็นผู้ดำเนินเส้นทางแห่งความเป็นสมณะ
ดังนั้น จึงต้องปฏิบัติตนให้เป็นสมณะที่ดี เว้นจากการทำบาปทั้งปวง หมั่นสร้างกุศลคุณงามความดี และหมั่นชำระจิตใจของตนให้สะอาดปราศจากมลทิน จึงจะสมกับที่ชาวโลกเขาเรียกว่า สมณะ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา