
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.
[คำอ่าน : ปัด-ฉา, โส, วิ-คะ-เต, โก-เท, อัก-คิ-ทัด-โท-วะ, ตับ-ปะ-ติ]
“ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้”
(องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙)
คนที่ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิด รำคาญใจ ควบคุมตัวเองไม่ได้ ทำอะไรโดยขาดการยั้งคิด ทำความผิดโดยไม่พิจารณา เนื่องจากปัญญามืดบอดไปชั่วขณะเพราะถูกความโกรธบดบัง
คนเช่นนี้ย่อมสร้างความพินาศเสียหายให้แก่ตนเองและผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย ทำเรื่องน่าอับอายได้อย่างไม่เกรงกลัว สร้างความเดือดร้อนให้ทั้งตัวเองและผู้อื่น เพราะอำนาจของความโกรธนั่นเองที่บงการให้เป็นไป
แต่ภายหลัง เมื่อความโกรธเบาบางลงแล้ว เขามาเห็นความผิดพลาดที่ตัวเองได้สร้างไว้ในขณะโกรธ ได้รับผลของมันแล้ว ย่อมจะมานั่งเศร้าโศกเสียใจในภายหลัง อาจจะคิดได้ในภายหลังว่า สิ่งที่ตนเองได้ทำลงไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรเลย
แต่เมื่อถึงตอนนั้นก็ไม่สามารถแก้ไขสิ่งใดได้แล้ว จำต้องก้มหน้ารับผลของการกระทำที่เกิดจากความโกรธนั้นต่อไป ดังนั้น พยายามฝึกจิตใจของตนเองให้เป็นอิสระจากความโกรธ คือไม่ให้ตกเป็นทาสของความโกรธ ย่อมจะเป็นดีที่สุด
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา