
โกธาภิภูโต ปุริโส ธนชานึ นิคจฺฉติ.
[คำอ่าน : โก-ทา-พิ-พู-โต, ปุ-ริ-โส, ทะ-นะ-ชา-นิง, นิ-คัด-ฉะ-ติ]
“บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์”
(องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๘)
ความโกรธนั้นเป็นสภาพที่ทำให้จิตใจเร่าร้อน หงุดหงิด มีลักษณะทำให้จิตกำเริบ ไม่สงบ ความโกรธเป็นตัวบดบังปัญญา ทำให้คิดอ่านอะไรไม่กระจ่าง ไม่สามารถใช้สติปัญญาพิจารณาอะไรได้ชัดเจนในขณะที่ความโกรธครอบงำจิตใจ
ความโกรธนั้นเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม เพราะเมื่อความโกรธเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมปิดบังปัญญา เกิดความมืดบอดขึ้นมาชั่วขณะ ทำให้คิดอ่านอะไรได้ไม่กระจ่าง จนอาจทำให้เกิดการกระทำที่ผิดพลาดได้
บางทีเมื่อโกรธขึ้นมาแล้วอาจไปทำให้คนอื่น ๆ ได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย จิตใจ หรือทรัพย์สิน เมื่อทำไปแล้วกลายเป็นความผิดต่อกฏหมายบ้านเมือง ต้องโดนปรับไหมใส่โทษ จะต้องเสียทรัพย์เพื่อชดใช้ต่อความเสียหายที่ตนได้ทำให้เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นได้ อย่างนี้เรียกว่า ความโกรธทำให้เสียทรัพย์
ดังนั้น เราจึงควรฝึกจิตให้รู้เท่าทันความโกรธ เมื่อความโกรธเกิดขึ้นมาแล้ว ต้องรู้ทันทีว่าโกรธ และเมื่อจิตสั่งการทำให้ทำอะไรที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่ผิด ต้องรู้ทันทีว่านั่นเป็นการสั่งการของความโกรธ แล้วฝักขัดคำสั่งของความโกรธเสียบ้าง จะได้ไม่ต้องพบกับความพินาศ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา