
อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ.
[คำอ่าน : อะ-สัน-ยะ-โต, ปับ-พะ-ชิ-โต, นะ, สา-ทุ]
“บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี”
(ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๔๖)
บรรพชิต แปลว่า ผู้เว้น หมายถึง เว้นจากการทำบาป เว้นจากอกุศลทั้งปวง เว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น เว้นจากการฆ่าหรือทำลายชีวิตผู้อื่น รวมความว่า เว้นจากสิ่งที่เป็นบาปทั้งปวง
ผู้ที่บรรพชาอุปสมบทเข้ามาเป็นพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา เรียกว่า บรรพชิต เพราะถือว่าเป็นผู้ตั้งใจที่จะงดเว้นจากการทำบาปอกุศลทั้งปวง เว้นจากการเบียดเบียนและทำลายชีวิตสัตว์
การที่จะเป็นบรรพชิตที่ดีและสมบูรณ์ได้นั้น จะต้องเป็นผู้สำรวมกาย วาจา ใจ ซึ่งคำว่า สำรวม นี้หมายถึงการระวังบาป ได้แก่ระวังกายไม่ให้ทำกายทุจริต ระวังวาจาไม่ให้กล่าวสิ่งที่เป็นวจีทุจริต ระวังใจไม่ให้คิดสิ่งที่เป็นมโนทุจริต
หากผู้ใดขาดการสำรวมดังกล่าว ท่านว่า ไม่ดี ไม่เป็นบรรพชิตที่สมบูรณ์ คือขาดคุณสมบัติของความเป็นบรรพชิตนั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา