
น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา
[คำอ่าน : นะ, เว, อะ-นัด-ถะ-กุ-สะ-เล-นะ, อัด-ถะ-จะ-ริ-ยา, สุ-ขา-วะ-หา]
“การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย”
(ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๑๕)
คนไม่ฉลาดในประโยชน์ คือ คนที่ขาดปัญญา ไม่สามารถถือเอาประโยชน์จากสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ หรือไม่สามารถมองเห็นประโยชน์ที่จะพึงมีพึงได้จากสิ่งใด ๆ จะเรียกว่าคนโง่ก็คงไม่ผิดนัก
การทำประโยชน์ต่อคนที่ไม่ฉลาดในประโยชน์ ก็คือ การสร้างประโยชน์แก่คนที่ไม่สามารถถือเอาประโยชน์นั้นได้ หรือไม่รู้จักประโยชน์ที่จะเกิดจากสิ่งนั้น ๆ นั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น การพูดธรรมะให้คนที่มีปัญญาน้อยได้รับฟัง เขาย่อมไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาธรรมะที่ได้ฟังนั้น และไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไรจากธรรมะนั้น เช่นนี้ ก็ย่อมเป็นการไม่เกิดประโยชน์
ดังนั้น คิดจะช่วยเหลือใคร หรือคิดจะสร้างประโยชน์ให้ใครก็ตาม ต้องพิจารณาเสียก่อนว่า เขาจะสามารถถือเอาประโยชน์นั้น ๆ ได้หรือไม่ หรือเขาจะเห็นประโยชน์จากสิ่งที่เราทำให้ได้หรือไม่
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา