
วโส อิสฺสริยํ โลเก.
[คำอ่าน : วะ-โส, อิด-สะ-ริ-ยัง, โล-เก]
“อำนาจเป็นใหญ่ในโลก”
(สํ.ส. ๑๕/๖๐)
อำนาจ คือสิ่งที่บังคับผู้อื่นหรือสิ่งอื่นให้เป็นไปตามตนเองได้ อำนาจเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ก็มีพลัง มีอานุภาพในตัว เช่น อำนาจของพระราชา สามารถบังคับให้คนอื่นในแว่นแคว้นทำตามคำสั่งของพระองค์ได้
อำนาจของพระธรรม สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามธรรมถึงความพ้นทุกข์ มีความสุขความเจริญในชีวิตได้ อำนาจของอกุศล สามารถทำให้บุคคลผู้ทำอกุศลตกไปสู่อบายภูมิได้ เป็นต้น
อำนาจที่ทำให้เราทั้งหลายต้องประสบกับความทุกข์ทั้งหลายทั้งทางกายและทางใจ คืออำนาจของกิเลส อำนาจของกิเลสนี่แหละที่ทำให้เราเกิดมา ประสบกับความทุกข์อันยิ่งใหญ่ในวัฏสงสาร
และอำนาจที่จะสามารถทำลายอำนาจของกิเลสได้ ก็คือ อำนาจของวิปัสสนา คือเราต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนเกิดวิปัสสนาญาณ แล้ววิปัสสนาญาณนี่เองจะสามารถทำลายอำนาจของกิเลสลงได้ เราจึงต้องขวนขวายพยายามปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ช่ำชอง ทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อที่จะอาศัยอำนาจของวิปัสสนานี้มาทำลายอำนาจของกิเลสอันเป็นเหตุก่อทุกข์ทั้งปวง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา