
ปมาเทน น สํวเส.
[คำอ่าน : ปะ-มา-เท-นะ, นะ, สัง-วะ-เส]
“ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท”
(ขุ.ธ. ๒๕/๓๗, ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๘, ขุ.มหา. ๒๙/๕๑๕)
ความประมาท คือ ความเลินเล่อ ลุ่มหลงมัวเมา ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส เป็นเหตุให้ขาดสติ ขาดความดำริพิจารณา ขาดปัญญาในการดำเนินชีวิต เมื่อความประมาทเกิดขึ้นกับบุคคลใดแล้ว ปัญญาของเขาจะมืดบอด สติของเขาจะเลือนหาย ทำให้ทำการงานใด ๆ ขาดความรอบคอบ เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
อีกทั้งทำให้เขาห่างจากความเจริญ เดินมุ่งหน้าสู่ความฉิบหาย เหมือนคนตายที่ไม่สามารถสร้างประโยชน์หรือคุณงามความดีใด ๆ ได้อีกแล้ว ย่อมพลาดจากประโยชน์ทั้งหลาย ทั้งประโยชน์ที่พึงเกิดแก่ตน ทั้งประโยชน์ที่พึงสามารถสร้างให้แก่ผู้อื่นได้ ทั้งประโยชน์ในโลกนี้ ทั้งประโยชน์ในโลกหน้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาย่อมเสื่อมจากประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน
เพราะฉะนั้น ท่านจึงสอนว่า อย่าสมคบด้วยความประมาท ความหมายก็คือ อย่าประมาท นั่นเอง เพราะความประมาทสร้างความฉิบหายให้โดยประการดังที่กล่าวแล้ว
สิ่งที่เราท่านทั้งหลายควรทำก็คือ ละความประมาทเสียให้ได้ แล้วดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท ใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา พยายามเร่งสร้างบุญกุศลทั้งหลาย ในขณะที่ยังสามารถทำได้ อันจะเป็นทางแห่งความสุขความเจริญทั้งในภพนี้และภพหน้า และนอกจากนั้นคือ ควรเร่งสร้างประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพานให้เกิดขึ้นแก่ตนโดยเร็วที่สุด จึงจะได้ชื่อว่า ใช้ชีวิตโดยความไม่ประมาทอย่างแท้จริง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา