
นตฺถิ อการิยํ ปาปํ มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน.
[คำอ่าน : นัด-ถิ, อะ-กา-ริ-ยัง, ปา-ปัง, มุ-สา-วา-ทิด-สะ, ชัน-ตุ-โน]
“คนมักพูดมุสา จะไม่พึงทำชั่ว ย่อมไม่มี”
(ขุ.ธ. ๒๕/๓๘, ขุ.อิติ. ๒๕/๒๔๓)
คนที่มักพูดมุสา คือคนที่พูดปดอยู่เป็นประจำ เป็นคนเหลาะแหละหละหลวม ไม่มีสัจจะ ไม่มีความจริงใจให้ใคร เป็นคนกลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ คนที่พูดมุสาคือโกหกอยู่เสมอ ถือเป็นคนไม่ดี เพราะการที่เขาพูดโกหกนั้นก็เป็นการประพฤติชั่วทางวาจา ที่เรียกว่า วจีทุจริต ทุกครั้งที่เขากล่าวคำมุสา นั่นคือการทำชั่ว
และคนที่โกหกอยู่เสมอนั้น ย่อมมีแนวโน้มที่จะทำความชั่วอย่างอื่นด้วย การที่คนโกหกจะไม่ทำความชั่วอย่างอื่นนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้น คนที่มักพูดมุสาคือโกหกอยู่เสมอนั้น จึงเป็นบุคคลที่คบไม่ได้อีกประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกคนพาล พึงหลีกเว้นเสียให้ไกล
เราทั้งหลาย ในฐานะพุทธศาสนิกชน พึงดำเนินตามวิถีแห่งธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนไว้ นั่นคือ การทำดีเว้นชั่ว เกรงกลัวบาป และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมนั้น จำเป็นต้องมีสัจจะ พูดแต่คำจริง อย่าทำตนเป็นคนโกหกหลอกลวง เพราะจะทำให้คนอื่นไม่เชื่อใจ หวาดระแวง เมื่อไม่ได้รับความเชื่อใจจากคนอื่น ย่อมเป็นการยากที่จะใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นอย่างผาสุกได้
ดังนั้น พึงฝึกตนให้เป็นคนมีสัจจะ พูดแต่ความจริง อย่าทำตนเป็นคนโกหกหลอกลวงเลย เพราะนั่นเป็นกิริยาของคนชั่ว บัณฑิตไม่สรรเสริญ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา