
น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต.
[คำอ่าน : นะ, กา-มะ-กา-มา, ละ-ปะ-ยัน-ติ, สัน-โต]
“สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม”
(ขุ.ธ. ๒๕/๒๖)
สัตบุรุษ หมายถึง คนดี คือคนที่มีปัญญา มีความรู้ มีคุณธรรม เป็นผู้รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้บุคคล รู้ประชุมชน
สัตบุรุษ ไม่ว่าจะทำ พูด คิด ย่อมทำ พูด คิด แต่สิ่งที่ดี อยู่ภายใต้กฏของศีลธรรมอันดีของศาสนา และภายใต้กฎหมายของบ้านเมือง ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ไม่ทำสิ่งที่จะเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น
สัตบุรุษคือคนดี ย่อมไม่ทำ พูด คิด โดยอิงอาศัยกามเป็นหลัก คือไม่ทำอะไรโดยมีความใคร่ในกามคุณห้าเป็นพื้นฐาน แต่ใช้หลักเหตุผลและศีลธรรมเป็นพื้นฐาน ทำให้การทำ พูด คิด นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยแท้
เราทั้งหลาย พึงดำเนินตามวิถีแห่งสัตบุรุษ คือพยายามละกามทั้งหลายเสีย ไม่ว่าจะทำพูดหรือคิดสิ่งใด ก็ไม่พึงทำพูดคิดด้วยอิงอาศัยกามเลย
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา