
สนฺโต สตฺตหิเต รตา.
[คำอ่าน : สัน-โต, สัด-ตะ-หิ-เต, ระ-ตา]
“สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์”
(ชาตกฏฺฐกถา ๑/๒๓๐)
สัตบุรุษคือคนดีมีคุณธรรม ย่อมยินดีในการสงเคราะห์เกื้อกูลผู้อื่น ทั้งคนและสัตว์ทั้งหลาย เพราะการสงเคราะห์เกื้อกูลนั้น เป็นหลักธรรมอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต ทำให้คนทั้งหลายปรารถนาดีต่อกัน
เมื่อมีการสงเคราะห์เกื้อกูลกัน คนทั้งหลายในชุมชนเดียวกันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน แบ่งปันกัน การเบียดเบียนกันก็ไม่เกิดขึ้น
เมื่อคนทั้งหลายเอื้อเฟื้อกันและไม่เบียดเบียนกันดังกล่าว ความสุขก็เกิดขึ้นในสังคม คนทั้งหลายในสังคมนั้น ๆ ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสุข
ดังนั้น เราท่านทั้งหลายพึงเป็นผู้ยินดีในการสงเคราะห์เกื้อกูลกันเถิด เพราะความเกื้อกูลกันนี้จะเป็นเหตุนำมาซึ่งความสงบสุขในสังคม ตั้งแต่สังคมเล็ก ๆ ระดับครอบครัว ขยายออกไปสู่สังคมใหญ่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือแม้แต่ระดับประเทศและระดับโลกได้
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา