
ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต.
[คำอ่าน : ทู-เร, สัน-โต, ปะ-กา-เสน-ติ, หิ-มะ-วัน-โต-วะ, ปับ-พะ-โต]
“สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์”
(ขุ.ธ. ๒๕/๕๕)
สัตบุรุษคือคนดีมีศีลธรรม ย่อมเป็นที่เคารพนับถือของคนหมู่มาก มีชื่อเสียงแผ่กระจายไปในทุกสารทิศ แม้ไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในชุมชนนั้น ๆ แต่ชื่อเสียงของเขาย่อมปรากฏเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
คำว่า ปรากฏในที่ไกล ก็หมายถึง ชื่อเสียงของเขาแผ่กระจายไปในสถานที่ต่าง ๆ นั่นเอง เพราะผู้คนทั้งหลายต่างพากันยกย่องสรรเสริญคุณงามความดีของเขา
คนนี้นำไปสรรเสริญในสังคมนั้น คนในสังคมนั้นนำไปสรรเสริญในสังคมอื่น ๆ อีก ทำให้ชื่อเสียงคุณงามความดีของเขาแผ่กระจายไปเป็นวงกว้าง เป็นที่รู้จักของชาวโลก
ภูเขาลูกใหญ่ที่สูงตระหง่านสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแม้อยู่ในที่ไกล ฉันใด คุณงามความดีของสัตบุรุษที่ถูกยกย่องสรรเสริญในที่ต่าง ๆ ก็ย่อมขจรไปในที่ไกลได้ฉันนั้นเหมือนกัน
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา