
อุปสนฺโต สุขํ เสติ.
[คำอ่าน : อุ-ปะ-สัน-โต, สุ-ขัง, เส-ติ]
“ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข”
(วิ.จุล. ๗/๑๐๖, สํ.ส. ๑๕/๓๑๒, องฺ.ติก. ๒๐/๑๗๕)
ผู้สงบระงับ หมายถึง ผู้สงบทั้งภายนอกและภายใน ได้แก่ สงบกาย ด้วยการไม่ทำบาปทั้งปวง สงบวาจา ด้วยการเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ประการ และสงบใจ ด้วยการเว้นจากมโนทุจริตทั้ง ๓ ประการ
ผู้ที่จะมีความสงบทั้งภายนอกและภายในดังกล่าว จะต้องเป็นผู้สำรวมระวังกาย วาจา และใจ อยู่เสมอ ไม่ให้เผลอไปทำบาปกรรมตามอำนาจของกิเลส ด้วยการเจริญสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันอารมณ์ตลอดเวลา
อีกทั้งยังต้องมีขันติ คือความอดทนต่ออารมณ์ที่มายั่วยุให้กระทำบาปทั้งหลายทั้งปวง ไม่หลงไปกระทำกรรมชั่วช้าลามกตามการยั่วยุของอารมณ์ชั่วทั้งหลายเหล่านั้น
เมื่อมีกาย วาจา และใจ สงบดังที่ได้กล่าวมา กิเลสทำอะไรบุคคลนั้นไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุขทั้งกลางวันและกลางคืน
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา