
สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ.
[คำอ่าน : สะ-ตัน-จะ, คัน-โท, ปะ-ติ-วา-ตะ-เม-ติ]
“กลิ่นของสัตบุรุษ ย่อมไปทวนลมได้”
(องฺ.ติก. ๒๐/๒๙๑, ขุ.ธ. ๒๕/๒๒)
ธรรมดากลิ่นของคันธชาติทั้งหลาย ย่อมฟุ้งขจรไปในทิศต่าง ๆ ได้เพราะลมพัดไป คือกลิ่นเหล่านั้นย่อมสามารถฟุ้งไปตามทิศที่ลมพัดไปเท่านั้น ไม่สามารถฟุ้งไปทวนกระแสลมได้
ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ ซึ่งหมายถึงคุณงามความดีของสัตบุรุษ คือผู้ที่มีปัญญาดี มีความสามารถดี มีความประพฤติดี ย่อมฟุ้งขจรไปในที่ทวนลมได้ ชื่อเสียงของเขาสามารถกระจายไปได้ทุกที่
เพราะสัตบุรุษย่อมเป็นผู้สร้างสมอบรมคุณงามความดี บำเพ็ญประโยชน์เพื่อตนเองและส่วนรวม เป็นบุคคลที่คนทั้งหลายให้ความเคารพนับถือ คนทั่ว ๆ ไปย่อมนำคุณงามความดีของเขาไปบอกกล่าวในที่นั้น ๆ ทำให้เกียรติคุณของสัตบุรุษฟุ้งขจรไปได้ทุกทิศนั่นเอง
ความหมายก็คือ กลิ่นอื่น ๆ ย่อมโชยไปตามลม ไม่สามารถโชยไปทวนกระแสลมได้ แต่กลิ่นคือชื่อเสียงอันดีของสัตบุรุษ ย่อมสามารถขจรไปได้ทั่วทุกทิศ ไม่ขึ้นอยู่กับกระแสลมนั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา