
อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ.
[คำอ่าน : อะ-นุ-ปา-ทา, วิ-มุด-จัน-ติ]
“สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น”
(ม.อุป. ๑๔/๓๔๖, องฺ.ติก. ๒๐/๑๘๐)
อุปาทาน แปลว่า ความถือมั่น หรือ ยึดมั่น ได้แก่ การยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายว่า เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา การยึดมั่นถือมั่นนี่แหละที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์
พุทธศาสนาสอนให้เราปล่อยวาง แต่คำว่า ปล่อยวางนี่ไม่ใช่ทิ้ง ไม่ใช่ไม่เอาอะไรเลย แต่หมายถึงการไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง คือทำใจให้เป็นกลาง ๆ ในสิ่งทั้งปวง ทั้งที่ดีและไม่ดี
การทำใจให้เป็นกลาง ๆ ก็คือ การรักษาใจของเราให้คงที่ ไม่ให้เอนเอียงไปทางยินดีหรือยินร้าย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมาก็ตาม จะดีหรือไม่ดี จะสุขหรือจะทุกข์ก็ตาม เราแค่รับรู้อย่างเดียวก็พอ อย่าปล่อยให้จิตเอนไปทางยินดีหรือยินร้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อสามารถทำได้ดังนี้ เราก็จะสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้เพราะใจที่ไม่มีอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา