
อธุรายํ นิยุญฺชติ.
[คำอ่าน : อะ-ทุ-รา-ยัง, นิ-ยุน-ชะ-ติ]
“คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบในทางอันมิใช่ธุระ”
(ขุ.ชา.เตรส. ๒๗/๓๕๕)
คนมีปัญญาทราม ย่อมไม่รู้จักทางเสื่อมทางเจริญ ไม่รู้จักปาบบุญคุณโทษ ประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี
คนเช่นนี้ย่อมทำตัวเหลวไหลไร้สาระ หาประโยชน์มิได้ จะทำอะไรก็เป็นไปในทางที่ขาดปัญญา ขาดการพินิจพิเคราะห์ อยู่นอกเหนือหลักศีลธรรม เป็นทางที่จะทำตนให้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเท่านั้น
เมื่อเขาทำตัวอยู่อย่างนี้ ย่อมหนีไม่พ้นความเสื่อม ทั้งเสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกียรติ เสื่อมคุณธรรม อยู่ในโลกนี้ก็ได้รับแต่คำตำหนิติเตียน ได้รับความเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เมื่อตายไปแล้วก็ต้องไปชดใช้กรรมชั่วในอบายภูมิ
ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนาแล้ว พึงพยายามเจริญปัญญาให้มาก ด้วยการเข้าหาผู้รู้ สอบถามปัญหาข้อสงสัย ศึกษาธรรมะให้มาก และเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้มาก จะได้มีปัญญารักษาตนให้พ้นจากบาปอกุศลทั้งหลาย
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา