
เย ปมตฺตา ยถา มตา.
[คำอ่าน : เย, ปะ-มัด-ตา, ยะ-ถา, มะ-ตา]
“ผู้ประมาท เหมือนคนที่ตายแล้ว”
(ขุ.ธ. ๒๕/๑๘, ขุ.ชา.ตึส. ๒๗/๕๒๔)
คนประมาท คือ คนที่มัวเมาในชีวิต ในทรัพย์สิน ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่สนใจที่จะสั่งสมอบรมคุณงามความดี ใช้ชีวิตเหลวไหลไร้สาระ ผิดชอบชั่วดีไม่สนใจ ใช้ชีวิตไปวันๆ โดยไม่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ ใช้เวลาในแต่ละวันให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์
คนประเภทนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างบารมี เพราะคิดว่าไม่มีประโยชน์ เพราะเขามองไม่เห็นประโยชน์ของการทำสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงเปรียบคนประมาทว่า เหมือนคนที่ตายแล้ว
เพราะคนที่ตายไปแล้ว ย่อมไม่สามารถสร้างประโยชน์ใด ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน คนที่ตายแล้ว ไม่สามารถสร้างประโยชน์เหล่านั้นได้เลย
คนที่ประมาทก็เช่นกัน ถึงมีชีวิตอยู่ก็ไม่สามารถสร้างประโยชน์ใด ๆ ได้ เพราะมัวแต่ประมาทลุ่มหลงมัวเมา ไม่รู้ดีรู้ชั่วนั่นเอง ไม่ต่างอะไรกับคนที่ตายแล้ว
ดังนั้น เราทั้งท่านหลาย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ยังมีเวลา ยังมีเรี่ยวแรงที่จะสร้างคุณงามความดีสะสมบารมีได้ พึงเริ่งขวนขวายสร้างบุญกุศลนั้นเถิด พึงเร่งสร้างบารมีเถิด อย่าทำตัวเหมือนคนที่ตายแล้วเลย
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา