
นิโรธ 5 ประการ
นิโรธ แปลว่า ความดับกิเลส หมายถึง ภาวะที่ไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้นครอบงำจิต มี 5 ประการ คือ
1. วิกขัมภนนิโรธ
วิกขัมภนนิโรธ แปลว่า ความดับด้วยการข่มไว้ หมายถึง การดับกิเลสด้วยการข่มไว้หรือกดทับไว้ คือผู้ที่ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสามารถบรรลุฌานสมาบัติขั้นใดขั้นหนึ่ง แล้วใช้องค์แห่งฌานนั้น ๆ ข่มกิเลสเอาไว้
ตราบใดที่บุคคลผู้นั้นยังอยู่ในฌาน ก็จะสามารถข่มกิเลสเอาไว้ได้ แต่เมื่อออกจากฌานแล้ว กิเลสก็สามารถฟูขึ้นได้อีก เปรียบเหมือนการเอาก้อนหินก้อนใหญ่ทับหญ้าไว้ ในขณะที่หญ้าถูกก้อนหินทับอยู่นั้นก็ไม่สามารถเจริญงอกงามได้ แต่เมื่อใดหินก้อนนั้นถูกยกออก หญ้าที่เคยถูกกดทับไว้ก็จะสามารถกลับเจริญงอกงามขึ้นได้อีก
2. ตทังคนิโรธ
ตทังคนิโรธ แปลว่า ความดับด้วยองค์นั้น ๆ หมายถึง การดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงกันข้าม เช่น ดับพยาบาทได้ด้วยเมตตา ดับความริษยาได้ด้วยมุทิตา ดับสักกายทิฏฐิได้ด้วยความรู้ที่กำหนดแยกรูปนามออกจากกันได้ เป็นต้น เป็นการดับกิเลสได้ชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
3. สมุจเฉทนิโรธ
สมุจเฉทนิโรธ แปลว่า ความดับกิเลสด้วยการตัดขาด หมายถึง ความดับกิเลสแบบเด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ๆ โดยผู้ปฏิบัติต้องบรรลุโลกุตตรมรรคขั้นใดขั้นหนึ่ง มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น
เมื่อบรรลุโลกุตตรมรรคแต่ละขั้น กิเลสก็จะถูกทำลายออกไปตามกำลังของมรรคนั้น ๆ ซึ่งกิเลสส่วนที่ถูกทำลายแล้วจะไม่สามารถกลับเกิดขึ้นได้อีก เพราะถูกตัดขาดไปแล้วด้วยกำลังแห่งมรรคนั้นๆ
4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ
ปฏิปัสสัทธินิโรธ แปลว่า ความดับความสงบระงับ หมายถึง การดับกิเลสด้วยโลกุตตรผล อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการบรรลุโลกุตตรมรรค คืออาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดแล้วก็บรรลุโลกุตตรผลต่อเนื่องกันไป กิเลสก็เป็นอันสงบระงับไปหมด ไม่จำต้องขวนขวายเพื่อดับอีกในขณะแห่งผลนั้น
5. นิสสรณนิโรธ
นิสสรณนิโรธ แปลว่า ความดับด้วยการสลัดออก หมายถึง ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้วดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นอย่างยั่งยืนตลอดไป ได้แก่ การบรรลุพระอรหัตตผลเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ