
พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
พละ 5 ของพระมหากษัตริย์ พลังของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่สามารถเป็นกษัตริย์ปกครองแผ่นดินได้ หมายถึง พลังของพระเจ้าแผ่นดิน ได้แก่ อำนาจ คุณสมบัติ หรือบุคคล ที่จะช่วยส่งเสริมให้พระมหากษัตริย์สามารถปกครองแผ่นดินได้โดยราบรื่นเรียบร้อยและสงบร่มเย็น ประกอบด้วย
- พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขน หรือ กำลังกาย
- โภคพละ กำลังโภคสมบัติ
- อมัจจพละ กำลังอำมาตย์
- อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง
- ปัญญาพละ กำลังปัญญา
พาหาพละ หรือ กายพละ
พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขน หรือ กำลังกาย คือ ความแข็งแรงมีสุขภาพดี สามารถ และชำนาญในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ ตลอดจนมียุทโธปกรณ์พรั่งพร้อม
พระมหากษัตริย์ต้องมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีความชำนาญในการศึก เพียบพร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ มีกำลังทหารพร้อมสำหรับการป้องกันประเทศและพร้อมรบอยู่เสมอหากมีภัยคุกคามประเทศชาติ
โภคพละ
โภคพละ กำลังโภคสมบัติ คือ มีทุนทรัพย์บริบูรณ์ พร้อมที่จะใช้บำรุงเลี้ยงคน และดำเนินกิจการได้ไม่ติดขัด
พระมหากษัตริย์จำเป็นต้องอาศัยข้าราชบริพารเป็นจำนวนมากในการสนองงานต่างพระเนตรพระกรรณ จึงจำเป็นต้องมีโภคสมบัติจำนวนมากและเพียงพอต่อการใช้บำรุงเลี้ยงข้าราชบริพารเหล่านั้นให้อยู่ดีกินดีและสามารถสนองงานได้
อมัจจพละ
อมัจจพละ กำลังอำมาตย์ หรือกำลังข้าราชการ คือ มีที่ปรึกษาและข้าราชการระดับบริหารที่ทรงคุณวุฒิเก่งกล้าสามารถ และจงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน
ข้าราชการทั้งหลายจะเป็นผู้ที่คอยสนับสนุนสนองงานของพระมหากษัตริย์ให้สำเร็จลุล่วงตามพระราชประสงค์ ดังนั้น ข้าราชการจึงต้องเป็นข้าราชการที่ดี มีคุณธรรม และมีความรู้ความสามารถมากพอที่จะสนองงานพระมหากษัตริย์ ทำงานเพื่อแผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อภิชัจจพละ
อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง คือ กำเนิดในตระกูลสูง เป็นขัตติยชาติต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชน และได้รับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดีตามประเพณีแห่งชาติตระกูลนั้น
ปัญญาพละ
ปัญญาพละ กำลังปัญญา คือ ทรงปรีชาญาณ หยั่งรู้เหตุผล ผิดชอบ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ สามารถวินิจฉัยเหตุการณ์ทั้งภายในภายนอก และดำริการต่างๆ ให้ได้ผลเป็นอย่างดี ทรงทศพิธราชธรรม ปกครองแผ่นดินโดยธรรม
ในพละทั้ง 5 ประการนั้น ปัญญาพละ ท่านจัดว่าเป็นกำลังอันประเสริฐ เป็นยอดแห่งกำลังทั้งปวง เพราะเป็นเครื่องกำกับ ควบคุม และนำทางกำลังอื่นทุกอย่าง
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ