
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.
[คำอ่าน : สัง-โว-หา-เร-นะ, โส-ไจ-ยัง, เว-ทิ-ตับ-พัง]
“ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ”
(นัย- ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๘)
คำว่า “ความสะอาด” ในพุทธศาสนสุภาษิตนี้ หมายถึง ความสะอาดแห่งใจ คือจะรู้ได้ว่าบุคคลหนึ่ง ๆ นั้นเป็นคนที่จิตใจสะอาดหรือสกปรก สามารถสังเกตได้จากคำพูดคำจาของเขานั่นเอง
เพราะโดยปกติแล้ว การกระทำทางกายและการพูดทางวาจา หรือที่เราเรียกว่า กายกรรม และ วจีกรรม นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสั่งการของจิต เมื่อจิตมีสภาพอย่างไร ก็จะสั่งการให้กายกระทำอย่างนั้น สั่งการให้การเปล่งวาจาเป็นไปอย่างนั้นด้วย
เมื่อจิตสกปรกคือถูกกิเลสครอบงำ ก็จะสั่งให้พูดคำหยาบ คำเท็จ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ เมื่อจิตสะอาดคือปราศจากกิเลส ก็จะสั่งให้พูดวาจาที่ไพเราะเสนาะหู พูดความจริง พูดมีสาระ เป็นต้น
ดังนั้น เราจึงสามารถสังเกตสภาพจิตของคนได้จากการกระทำและคำพูด
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา