
สันโดษ 3 ประการ
สันโดษ แปลว่า ความยินดี ความพอใจ หมายถึง ความยินดีพอใจด้วยของของตนเท่าที่มี เท่าที่พอดีแก่กำลัง หรือเท่าที่สมควร เป็นหลักธรรมเพื่อการดำรงชีวิตด้วยความรู้จักพอ ป้องกันการดิ้นรนจนเกินกำลัง หรือการแสวงหาที่ผิดทาง มี 3 ประการ คือ
1. ยถาลาภสันโดษ
ยถาลาภสันโดษ ความยินดีตามที่ได้ คือ ตนได้สิ่งใดมา หรือแสวงหาสิ่งใดได้มา ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีต ก็ให้ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่อยากได้ยิ่งไปกว่าสิ่งที่ตนได้หรือหามาได้ ไม่ปรารถนาที่เกินไปกว่านั้น ไม่แสวงหาสิ่งที่เลิศกว่าในทางที่ผิด ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของคนอื่น
2. ยถาพลสันโดษ
ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือ ยินดีแต่พอดีกับกำลังการใช้สอยของตน คือสมควรแก่สุขภาพและวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่อยากได้เกินกำลัง หรือได้สิ่งใดมาที่ไม่ถูกกับกำลังร่างกายหรือสุขภาพของตน ก็ไม่หวงแหนเสียดายหรือฝืนใช้ให้เกิดโทษ ยอมสละให้ผู้อื่นที่สามารถใช้สอยสิ่งนั้น ๆ ได้โดยไม่เกิดโทษ
3. ยถาสารุปปสันโดษ
ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือ ยินดีตามที่เหมาะสมกับตน อันควรแก่ฐานะ ภาวะ แนวทางการดำรงชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่น ภิกษุไม่ปรารถนาสิ่งของอันไม่สมควรแก่สมณภาวะ หรือภิกษุบางรูปได้ปัจจัยสี่ที่มีค่ามาก เห็นว่าเป็นสิ่งสมควรแก่ท่านผู้ทรงคุณสมบัติน่านับถือ ก็นำไปมอบให้แก่ท่านผู้นั้น ตนเองใช้แต่สิ่งอันพอประมาณ เป็นต้น
สันโดษทั้ง 3 ประการนี้ เป็นหลักปฏิบัติสำหรับการดำรงชีพของพระภิกษุ คฤหัสถ์พึงนำไปปรับใช้ตามสมควร
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ