
โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท.
[คำอ่าน : โก-ทัง, ปัน-ยา-ยะ, อุด-ฉิน-เท]
“พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา”
(นัย- องฺ.สตฺตก. ๒๓/๑๐๐)
ความโกรธ มีสภาพที่ทำให้จิตใจของเราเกรี้ยวกราด หงุดหงิด ขุ่นเคือง ขัดใจ อยากทำลาย อยากทำร้าย อยากประหัตประหาร อยากทะเลาะ อยากก่อวิวาท อยากทำอะไรสักอย่างเพื่อเป็นการระบายความโกรธ
ความโกรธย่อมทำให้เราสร้างกรรมที่จะทำให้เกิดความพินาศฉิบหายทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ก่อแต่สิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม สร้างความเดือดร้อนต่าง ๆ นานา
ผู้มีปัญญา เมื่อพิจารณาเห็นโทษของความโกรธแล้ว ย่อมใช้ขันติมาข่มความโกรธไว้ และใช้เมตตาธรรมมาทำลายความโกรธเสีย เพื่อไม่ให้ความโกรธสามารถครอบงำจิตใจ และบงการให้กระทำการชั่วร้ายต่าง ๆ ตามอำนาจของมันได้
เมื่อทำได้ดังนี้ ก็ไม่ต้องตกเป็นทาสของความโกรธ เมื่อไม่เป็นทาสของความโกรธ ก็ไม่ต้องทำกรรมชั่วร้ายต่าง ๆ ตามอำนาจของความโกรธ เมื่อไม่ได้ทำกรรมชั่วร้ายดังกล่าว ก็ไม่ต้องรับความฉิบหายอันจะเกิดจากความโกรธนั้น
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา