
โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท.
[คำอ่าน : โก-ทัง, ทะ-เม-นะ, อุด-ฉิน-เท]
“พึงตัดความโกรธ ด้วยความข่มใจ”
(นัย- องฺ.สตฺตก. ๒๓/๑๐๐)
ความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว จะทำให้บุคคลนั้น ๆ หงุดหงิด งุ่นง่าน รำคาญใจ อยากด่า อยากทำร้าย อยากทำลายข้าวของหรือบุคคลที่ทำให้โกรธถึงความพินาศย่อยยับไป เพื่อเป็นการระบายความโกรธ
ทมะ คือ ความข่มใจ เป็นธรรมที่ใช้ข่มความโกรธไว้เป็นลำดับแรก คือเมื่อความโกรธเกิดขึ้นมา เราใช้ทมะข่มมันไว้ ไม่ให้มันลุกลาม ไม่ให้มันเจริญขึ้น ควบคุมมันไว้ให้อยู่ในอำนาจของเรา
ถ้าเรามีทมะประจำใจ รู้จักข่มใจในเมื่อความโกรธเกิดขึ้นเช่นนี้ จะทำให้ความโกรธครอบงำจิตใจของเราไม่ได้ เมื่อความโกรธอยู่ในความควบคุม เราจะมีสติปัญญาพอที่จะใช้ธรรมะข้ออื่น ๆ มากำราบความโกรธให้เบาบางลงได้อีก
เพราะฉะนั้น ทมะ คือความข่มใจนี้ จึงเป็นปราการด่านแรกที่จะป้องกันความโกรธไม่ให้ลุกลามใหญ่โต เป็นธรรมะที่ควรทำให้มีในจิตใจ จะได้ใช้ข่มความโกรธเสียได้ทันท่วงทีถ้ามันเกิดขึ้นมา
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา